วันเสาร์ที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2552

ส่ำกวนไต่เต่ - 三官大帝


三官大帝 คือผู้เป็นใหญ่ในโลกสามโลก ตามความเชื่อของศาสนาเต๋านั้น สามโลกที่ว่าคือ ฟ้า(สวรรค์), ดิน และน้ำครับ (是天官、地官和水官) ทั้งสามไม่ใช่พี่น้องกันนะครับ เป็นตำแหน่งที่มีขึ้น เพื่อดูแลทั้งสามโลกในสงบเรียบร้อยครับ และ เทียนกวนนั้น ก็ไม่ใช่ หยกอ๋องซ่งเต่ แต่อย่างใดนะครับ เพราะหยกอ๋องนั้น เป็นใหญ่ทั้งสามโลกเลย พูดง่ายๆ ว่า เป็น บอส (boss) ใหญ่อีกที

ในสมัยโบราณนั้น การบูชาฟ้าดินและน้ำ สงวนไว้ให้กับกษัตรย์เท่านั้นนะครับ ชาวบ้านนั้นอนุญาติให้บูชาบรรพบุรุษได้อย่างเดียว (上古祭祀天地水是皇帝的權利 ,庶民百姓只能祭祖) อย่างไรก็ตามการบูชา 三官大帝 นั้น ก็เข้าถึงชาวบ้าน และป๊อปปูล่าสุดๆ ก็ในสมัยฮั่น (漢朝時期)เนื่องจาก เตียวเทียนซือ(正一天師張道陵) เอาพิธีกรรมนี้มาเผยแผ่ให้ชาวบ้านครับ โดยสมัยนั้นเมื่อเกิดเหตุเภทภัย โรคระบาดต่างๆ เตียวเทียนซือจะประกอบพิธีกรรมร่วมกับชาวบ้านเพื่อบูชา ส่ำกวนไต่เต่ 三官大帝 เพื่อให้ภัยภิบัติบรรเทาหรือหายไป โดยจะทำ เป็นหนังสือที่เรียกว่า 三官手書 (หนังสือเขียนด้วยลายมือ) สามเล่ม แล้วเอาไปไว้บนภูเขา, ฝังดิน และให้จมลงในแม่น้ำครับ ต่อมาในสมับราชวงศ์เหนือใต้ ส่ำกวนไต่เต่ก็ได้ถูกเอามารวมกับ 上中 下三元神(Spirits of the Three Origins)

天官大帝 หรือ 天官賜福 ในทางเต๋าจะเรียกว่า 上元一品賜福天官 หรือ จื่อเว่ยต้าตี่ 紫微大帝 นั้นเองครับ โดยท่านมีหน้าที่ในการดูแลชี่เขียวเหลืองขาว (青黃白三氣) และความเป็นระเบียบเรียบร้อยของโลกสวรรค์ โดยในวันขึ้นสิบห้าค่ำเดือนหนึ่งจีน (เพิ่งผ่านมา) ท่านจะลงมาสำรวจบุญบาปในโลกมนุษย์ ครับ (วัน 上元 งัยละครับ)

地官大帝 หรือ 中元二品赦罪地官 หรือ 清虛大帝 หน้าที่ของท่านคือดูแลโลกของดิน และจัดระเบียบชี่ที่เรียกว่า 元洞混靈之氣 (ขออภัย ไม่รู้จะเรียกเป็นภาษาไทยอย่างไร) รวมไปถึงดูแลเทพเจ้าแห่งขุนเขาทั้งห้า และเซียนมนุษย์ (總主五帝五嶽諸地神仙) วันที่สิบห้าเดือนเจ็ด ท่านจะมาที่โลกมนุษย์เพื่อสำรวจบุญบาป

水官大帝 หรือ 下元三品解厄水官 หรือ 洞陰大帝 ผู้ดุแลโลกของน้ำ, ชี่ของลม และทะเลสาปฒ โลกหลังความตาย รวมไปถึงเซียนที่เกิดจากน้ำทั้งหมด ทุกๆวันที่สิบห้าเดือนสิบ ท่านจะลงมาสำรวจบุญบาปในโลกมนุษย์ครับ

แปะเฮาะต่งจื้อ - 白鶴童子




白鶴童子 เป็นรูปแบบ (form หรือคนไทยเรียกว่า ปาง หรือ อวตาร) หนึ่งของเซียนนกกระเรียนขาวครับ จากตำนานได้กล่าวไว้ว่า กระเรียนขาวนี้ได้บำเพ็ญเพียรที่เขาคุนหลุน(崑崙山)จนสำเร็จเป็นเซียน

วันหนึ่ง 白鶴童子 ในร่างของมนุษย์ได้เดินเล่นอยู่บนเขาคุนหลุน ชมวิวชิวๆ จนลืมดูทาง ได้เกิดพลัดตกลงเหวลึก บาดเจ็บจนปีกหักสลบไป แต่เมื่อตื่นขึ้นมา ปรากฎอัศจรรย์ว่าท่านไม่ปวดหรือบาดเจ็บเหมือนตอนแรกตกลงมา

ขณะ ที่ 白鶴童子 กำลังประหลาดใจอยู่นั้น ท่านก็เห็นเซียนวิเศษท่านหนึ่งนั้นก็คือ ฉางเซิงต้าตี้ (長生大帝) หรือ โซ่วซิง (壽星) นั้นเอง ท่านจึงนั่งคุกเข่าและขอบคุณเซียน 壽星 ที่ช่วยเหลือท่าน และขอติดตาม 長生大帝 เพื่อปรณนิบัติและศึกษาเต๋าต่อไป

ตั้งแต่ เหตุการณ์ตกเหว เป็นเหตุการณ์สะเทือนขวัญของ 白鶴童子 มาก จนพลังในการใช้ปีกได้หายไป วันหนึ่งขณะที่โซ่วซิงและ 白鶴童子 กำลังเหาะไปสวรรค์อยู่นั้น ก็ผ่านจุดเกิดเหตุคือหน้าผาแห่งนั้นพอดี โซ่วซิงต้องการสอนศิษย์เลยผลัก 白鶴童子 ตกลงจากเมฆที่เหาะอยู่ ขณะที่ 白鶴童子 ตกลงจากเมฆลงไปในหน้าผานั้น ความกลัวเก่าๆของท่านก็ปุดๆๆๆผุดขึ้นมา ขณะที่ท่านตกใจกลัวนั้น เสียงของ เซียนโซ่วซิงผู้เป็นอาจารย์ ก็ตะโกนลงมาว่า "จงขจัดความกลัวของเจ้า จงใช้พลังของเจ้าทำให้ปีกบินได้อีกครั้ง"

白鶴童子 ได้ยินคำสั่งสอนของ อาจารย์ ก็ตั้งสติขจัดความกลัว รวมพลังจิตให้เป็นสมาธิ รวบรวมพลังไปสู่แผ่นหลัง ทันใดนั้น ท่านก็สามารถลอยตัวอยู่บนอากาสได้ และสำเร็จเป็นเซียน

ดังนั้นชาว บ้านจึงนับถือท่าน ในความเป็น สัญญลักษณ์ของความกล้าหาญในการต่อสู้กับความกลัวในจิตใจ อีกทั้งรวมไปถึงสัญลักษณ์ของพลังพิเศษต่างๆด้วย

อีก ตำนานหนึ่ก็บอกว่าท่านเป็นศิษย์คนแรกและคนเดียวที่เป็นสัตว์ของ ง่วนสีเทียนจุน (元始天尊) ว่ากันว่าท่านมีความฉลาดมาก ง่วนสีเทียนจุนให้ทำอะไรหรือสอนอะไรก็จะจดจำและเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็ว จนท่านสำเร็จเต๋า ก้ได้ช่วยงานทางด้านงานขีดๆเขียนๆให้กับง่วนสีเทียนจุน เช่นการทำรายงานเตือนพวกเทพต่างๆในโลกสวรรค์ หรือทำรายงานส่งไปตามโลกต่างๆเป็นตั้น

ดังนั้นบางครั้งดเวลาเราเห็นการตั้งปะรำพิธีที่มีซานชิงอยู่ มักจะมีรูปกิมสิ้นเล็กๆของ กุมารกะเรียนขาวน้อย นี้อยู่ด้วยนั้นเองครับ

บันทึก กับกุมารกระเรียนขาวนี้ มีอยู่ในพระไตรปิฎกของเต๋า เรียกว่า เต้าจ่าง Taoist Canon (Daozang 道藏) ซึ่งจะมีเรื่องราวของเทพเจ้าที่เราไม่คุ้นเคยอยู่มากมาย เต้าจ่างนี้ปัจจุบันไม่มีการตีพิมพ์ออกมาแล้ว จะหาได้คงจากไต้หวันหรือฮ่องกงครับ

วันพฤหัสบดีที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

เตียวฮู้อ๋องเอี๋ย - 張府王爺


บู้อันจุนอ๋อง (武安尊王) หรือ ตูเทียนไต่เต่ (都天大帝) หรือ โปอี๋จุนอ๋อง (保儀尊王) หรือ เตียวฮู้เชียนโส่ย หรือ เตียวฮู้อ๋องเอี๋ย (張府千歲, 張府王爺) มีชื่อจริงว่า เตียวซุ่น (張巡) เกิดในสมัยราชวงศ์ถัง ประมาณปี ค.ศ.708 (生于唐朝中宗年間) ณ บ้านหย่งจี๋ มณฑลซานซี (家鄉於山西省永濟)

ปี ค.ศ. 713 เตียวซุ่นสอบเข้ารับราชการในราชสำนักถัง และได้ทำงานเป็นข้าราชการในส่วนการให้การศึกษาแก่รัชทายาท จนถึงปี ค.ศ. 741 (任職太子通事舍人)

ปี ค.ศ. 742 เตียวซุ่น ได้รับการแต่งตั้งเป็นพนักงานปกครอง ณ บ้านชิงเหอ มณฑลเหอเป่ย (被派任為河北省清河縣令) ในช่วงที่ท่านอยู่ที่เหอเป่ย ท่านได้สร้างความดีความชอบ ช่วยเหลือประชาชนในการปราบปรามกลุ่มคนอันธพาล และโจรผู้ร้าย เป็นอันมาก

ปี ค.ศ. 755 เตียวซุ่นกลับเข้ารับใช้ราชสำนัก ซึ่งในขณะนั้น ฮ่องเต้ถังเสวียนจง (唐玄宗) ซึ่งมัวเมากับหยางกุ้ยเฟย ยอดหญิงงามแห่งยุคนั้น โดยให้งานในราชสำนักตกอยู่ในความดูแลของ หยางกั๋วจง (楊國忠) ซึ่งเป็นพี่น้องกับหยางกุ้ยเฟยนั้นเอง ข้าราชการในวังหลวงที่ต้องการเลื่อนตำแหน่งจะต้องเข้าไปติดสินบนหยางกั๋วจง เตียวซุ่นนั้นก็ได้รับการแนะนำให้เข้าไปพบหยางกั๋วจงเพื่อล็อบบี้ขอตำแหน่ง แต่ท่านปฏิเสธและแสดงความรังเกียจขุนนางกังฉินผู้นี้อย่างออกหน้าออกตา จนหยางกั๋วจงไม่พอใจ ปลดตำแหน่งของท่านและไล่ออกจากวังไป

ต่อมาไม่นานนัก เกิดเหตุการณ์กบถอันลู่ซาน (安祿山) จนถังเสวียนจงต้องระเหดออกจากวัง และราชสำนักได้คืนตำแหน่งราชการให้เตียวซุ่นเพื่อให้ท่านมาช่วยปราบกบถ

ปี ค.ศ. 757 ขณะที่ท่านทำการสู้รบอยู่นั้น ท่านได้ถูกข้าศึกล้อมไว้หมดทางหนี ท่านได้ส่งทหารไปขอความช่วยเหลือจากราชสำนัก แต่ได้รับการปฏิเสธ เพราะฝ่ายทหารนั้นโดนพวกกังฉินของหยางกั๋วจงกุมอำนาจอยู่ ทำให้ท่านต้องต่อสู้โดดเดี่ยวด้วยตัวเอง

ปี ค.ศ. 757 ขึ้น 9ค่ำ เดือน 10จีน (農曆十月初九日) เตียวซุ่นได้สละชีพปกป้องบ้านเมืองในขณะที่ทำการต่อสู้กับพวกกบถ พร้อมกับนายทหารที่ติดตามไปกับท่าน เช่น ซิวหยวน (許遠 - 許府千歲), หนานฉีหยวน (南齊雲 - 南府千歲) และ เหล่ยหว่านชุน (雷萬春 - 雷府千歲) ก็เสียชีวิตทั้งหมด

จากวีรกรรมอันกล้าหาญ ความดีที่รับใช้ชาติของคนทั้งสี่ ทำให้ชาวบ้านสักการะบูชาทั้งสี่เป็นเทพเจ้า และหลังจากที่ทั้งสี่เสียชีวิต วิญญาณของทั้งสี่ก็ไปสู่สรวงสวรรค์ (天庭) และได้รับการแต่งตั้งเป็นเทพเจ้า (上天敕封)

วันจันทร์ที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2551

หยี่หลองสิ๋น - 二郎神



หยี่หลองสิ๋น (二郎神) คือชื่อตำแหน่งของเทพพิทักษ์ (Taoist Protector) ในศาสนาเต๋า ที่เกี่ยวพันกับธาตุน้ำ (道教神名)และกำจัดปีศาจร้ายหรือพลังชั่วร้ายต่างๆ ซึ่งตามระบบของเทพในศาสนาเต๋าแล้ว จะมีอยู่ด้วยกันสามท่าน ตามยุคสมัยต่างๆกันดังนี้

1. ลี้หยี่หลอง (李二郎)บุตรชายของลี้ปิง (李冰) ซึ่งเป็นรับราชการเป็นแม่ทัพในรัฐฉู่ (蜀將 ปัจจุบันอยู่บริเวณมณทลเสฉวน) ท่านเกิดสมัยจั้นกว๋อ 戰國時代 หรือประมาณ 250 ปีก่อนคริสตกาล ในสมัยนั้น ท่านและบิดาของท่านได้ร่วมกับประชาชนในการขุดคลองเพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วมและเพื่อการชลประทาน ซึ่งต่อมาปรากฎว่ามีปีศาจงูมาอาละวาดสร้างความเสียหายในคลองนั้น หลังจากที่ได้เปิดใช้มาเป็นเวลาหนึ่งปี จึงทำให้ท่านและบิดาต้องเข้าทำการต่อสู้ปราบเจ้าปีศาจงูตัวนั้นลงได้ นับตั้งแต่นั้นมาผู้คนต่างกราบไหว้ยกย่องท่านให้เป็นเทพเจ้า และได้สร้างศาลบูชา หลังจากที่ท่านได้เสียชีวิตลง

ในยุคต่อมา ลี้ปิงได้รับชื่อที่ได้รับการแต่งตั้งว่า กงเจ่อ๋อง (廣濟王)และ ลี้หยี่หลอง เป็น หุ้ยเหลงถาว (惠靈侯)ปัจจุบันศาลเจ้าที่สร้างให้สองพ่อลูก ตั้งอยู่บริเวณแม่น้ำหมิน เสฉวน มีชื่อว่า ศาลเจ้าหยี่อ๋อง (二王庙)

หมายเหตุ หนังสือบางเล่มก็ระบุตัวลี้ปิงเองคือเทพหยี่หลองเช่นกัน


ศาลเจ้าหยี่อ๋อง (二王庙)


หลังจากเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในเสฉวน ทำให้ศาลเจ้าหยี่อ๋อง ได้รับความเสียหายมาก ในรูปเป็นรูปแกะสลักของลี้ปิงหลังจากเหตุการณ์แผ่นดินไหว


สภาพความเสียหายภายนอกศาลเจ้าหยี่อ๋อง จากเหตุการณ์แผ่นดินไหว ในรูปจะเห็นถึงความโศกเศร้าของนักพรตในศาลเจ้า
ภาพจากสำนักข่าวซินหัว


2. นักพรตเต๋าจากภูเขาชิ่งเชี๋ย ชื่อว่า ติวอยู่ (青城道士趙昱)หรือ ติวตงเบ๋ง(趙仲明) เกิดในสมัยซุ่ย (隋朝 ปี ค.ศ. 581-618)และเคยรับราชการเป็นผู้ตรวจการมณฑลมาก่อน ท่านได้ศึกษาเต๋าจากอาจารย์ลี้ยู่ (李珏) จากนั้นได้ปลีกวิเวก พาตัวเองขึ้นไปฝึกฝนที่ภูเขาชิ่งเชี๋ย (青城山)

ต่อมาปีหนึ่งได้ปรากฎมีปีศาจพรายน้ำขึ้นมาอาละวาดที่รัฐเจีย ติวอยู่จึงลงจากภูเขาเพื่อมาปราบปีศาจตนนี้ หลังจากได้ต่อสู้กันพักใหญ่ เจ้าอยู่ก็สามารถปราบปีศาจพรายน้ำตนนี้ลงได้ราบคาบ

จากวีรกรรมนี้เอง ชาวบ้านได้สร้างศาลเจ้าเพื่อสักการะบูชาท่าน บริเวณปากแม่น้ำ และต่อมาชาวบ้านได้เรียกท่านเป็น ก่วนข้าวหยี่หลองสิ๋นติวอยู่(灌口二郎神趙昱) ศาลเจ้าของท่านปัจจุบันยังมีให้เห็นอยู่ที่มณฑลเสฉวนครับ


ศาลเจ้าโบราณ (สองร้อยกว่าปี) บูชาเทพหยี่หลอง ณ เมืองก่วนข้าว


3. หยี่หลองสิ๋น เอี่ยวเจี้ยน (二郎神楊戩)
ถือได้ว่าหยี่หลองสิ๋นเอี่ยวเจี้ยน เป็นเทพหยี่หลองที่ใหม่ที่สุดครับ เพราะเป็นเทพที่ปรากฎให่หนังสือพงศาวดารห้องสิ๋น (封神榜) ซึ่งพงศาวดารเรื่องนี้ได้ปรากฎมีขึ้นในสมัยปลายราชวงศ์หมิงเองครับ (晚明年間)

ในพงศาวดารห้องสิ๋นนั้น ได้มีการเรียกเอี่ยวเจี้ยนว่าเป็น หัวหน้าแห่งภูเขาหมุ่ย(梅山首領) ซึ่งได้ปราบปีศาจ 6 ตนและต่อมาปีศาจทั้งหกนี้ได้กลายมาเป็นคณะผู้ติดตามเอี่ยวเจี้ยนไป ทำให้ต่อมาภายหลัง ชาวบ้านเรียกรวมๆกันเป็น เจ็ดเทพแห่งภูเขาหมุ่ยครับ(梅山七聖 - 封神榜里的梅山七怪朱子真、杨显、戴礼、金大升、常昊、吴龙和白猿袁洪) และยังมีเรื่องเล่าชาวบ้านอีกว่าท่านเป็นหลานของหยกอ๋องซ่งเต่อีกด้วยครับ(玉皇大帝之姪)


รูปเคารพหยี่หลองสิ๋นเอี่ยวเจี้ยน จะเห็นมีสุนัขสวรรค์สีดำอยู่เบื้องล่าง


เรื่องราวต่างๆของเอี่ยวเจี้ยนนั้น สามารถหาได้ง่ายตามละครทีวี หนังสือ หรือหนังสือการ์ตูน เรื่องห้องสิ๋นครับ มีให้หากันดู อ่าน แพร่หลาย

ในการที่จะหาจุดสังเกตุเพื่อระบุกิมสิ้นว่าเป็นหยี่หลองสิ๋น ให้ดูจุดสังเกตุดังนี้ครับ

1. ใบหน้ามีสีขาว (หรือสีทั่วไปก็ได้ครับ) และ มีตาสามตา
2. ถือทวนสามแฉก
3. มีสุนัขดำข้างกาย
4. มีการทำสัญลักษณ์นิ้ว เป็นสัญลักษณ์ของกระบี่ (เหมือนตอนเราชูสองนิ้ว เวลารำกระบี่ไท่เก็ก)

ปัจจุบันมีคนเข้าใจสบสันและแยกแยะไม่ออกครับ ระหว่าง ฮั่วกวงไต่เต่ ซึ่งมีสามตาเหมือนกัน และหยี่หลองสิ๋น ยังงัยก็ให้ดูจุดสังเกตดังกล่างข้างต้นครับ


ภาพหยี่หลองสิ๋น


หนังสืออ้างอิง:

道教天尊地仙吉神图说/禾三千: 黑龙江美术出版社,2005.12 ISBN:7-5318-1525-7
神的故事 .100位影響中國人心靈信仰的神/星佑著 .--台北市:好讀, 2002[民91] ISBN 957-455-152-0
道教小辞典: 上海辞书出版社, 2001.12 ISBN 7-5326-0734-8