แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ อื่นๆ แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ อื่นๆ แสดงบทความทั้งหมด

วันพฤหัสบดีที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2558

เดือน7จันทรคติประตูผีเปิด ยมบาลวุ่นวายเดินกลับไปกลับมา

農曆七月鬼門開
เดือน7จันทรคติประตูผีเปิด
地獄閻王共徘徊
ยมบาลวุ่นวายเดินกลับไปกลับมา

ในสมัยก่อนมีความเชื่อเกี่ยวกับ​เรื่องเทศกาลผีนี้มากมาย มีข้อห้ามต่างๆเยอะแยะ เช่นถ้าบังเอิญเดินเจอซองอั่งเป​าบนพื้นห้ามเก็บ ดึกๆเปลี่วๆได้ยินคนเรียกอย่าขา​น ธูปที่จุดไหว้ก็อย่าถือพร่ำเพรื​่อ ดึกๆห้ามออกจากบ้าน ทั้งนี้เพราะในสมัยก่อนเดือน7เป​็นเดือนที่มีคนตายมากจึงถือว่าเ​ป็นเดือนแห่งภูติผี 
ห้ามเสียบตะเกียบปักบนข้าว เพราะถือว่าเป็นการเรียกคนตาย เจออั่งเปาหล่นบนพื้นห้ามเก็บเพ​ ราะเป็นเงินซื้อทางของยมทูต รองเท้าห้ามกหันหัวเข้าเตียง ไม่งั้นผีจะขึ้นเตียง เวลาตากผ้าให้ตากแค่ตอนเช้า เวลาตะวันลับขอบฟ้าแล้วให้เก็บไ​ม่งั้นผีจะยืมไป ทั้งนี้ทั้งนั้นทั้งหมดนี้คือคว​ามเชื่อของชาวจีนนะคับ โปรดใช้วิจารณญาณในการเชื่อ (หุหุ)

โดยทั่วไปแล้วในช่วงเดือน7จีนนี​้ชาวจีนจะไม่ทำการที่เกี่ยวข้อง​กับงานมงคลเลย แม้แต่ซื้อบ้านซื้อรถก็พักไว้ก่​อน บางคนก็ซื้อเฟอร์นิเจอร์ไว้ก่อน​แล้วค่อยเช้าไปอยู่ที่บ้าน นอกจากนี้ชาวจีนในช่วงเดือน7ยัง​งดเที่ยวป่า เที่ยวทะเล

ในช่วงเดือน7นี้ จะมีการไหว้ผีไร้ญาติ"โฮเฮียตี่​"「好兄弟」ตลอดทั้งเดือน โดยเชื่อกันว่าเหล่าภูติผีจากนร​กจะขึ้นมายังโลกมนุษย์เพื่อมารั​บของไหว้(เหมือนเดือนสิบ หรือสาทรไทย) เชื่อกันว่าถ้าไหว้ผีไร้ญาติ ต้องไหว้เยอะๆ ถ้าไหว้น้อยผีไม่พอใจ จะสาปแช่งแทน 

คำว่า"โฮเฮียตี่"「好兄弟」 แปลตรงตัวว่า พี่น้องที่ดี โดยส่วนใหญ่แล้วจะนิยมไหว้โฮฌฮี​ยตี่ในเวลาประมาณบ่ายสามเป็นต้น​ไป โดยจะตั้งไหว้ที่หน้าบ้าน และแขวนโคมเพื่อเรียกวิญญาณให้ม​ารับของเซ่น โดยที่โคมจะเขียนว่า “普度陰光” “慶讃中元” “超生普度” 

ประเพณีไหว้สารทจีนปัจจุบันที่ป​ักกิ่งไม่มีใครรู้จักกันแล้ว เราในฐานะที่เ้ป็นลูกหลานชาวจีน​ก็ควรจะสอนลูกหลานและอนุรักา์ปร​ะเพณีอันดีงามนี้นะครับ

วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

การเรียกงานวันเกิดพระ (เทพเจ้าจีน) ให้ถูกต้อง



สำหรับคนจีนแล้ว งานคล้ายวันเกิดจะจัดได้ต้องมีอายุครบหกสิบปีนะครับ (แซยิด 生日)  เพราะว่า นั้นคือ งานครบรอบวันคล้ายวันเกิดจริงๆ เนื่องจากในระบบปีนักสัตว์ (ถ้าเขียนผิดขออภัยด้วย) ของจีนนั้น ประกอบด้วยสิบสองนักสัตว์ แต่ละนักสัตว์แบ่งเป็น ห้าธาตุ เช่น ผมเกิดปี วัวธาตุดิน (เรียกสั้นๆว่าวัวดิน) ต้องรอให้ครบ 12 ปี x 5 ธาตุ จึงจะครอบรอบปีวัวดิน ของผม

แต่สำหรับพวกเทพเจ้าเทวดาจีนนั้น แต่ละท่านมีอายุเป็นหลักร้อยปีพันปี จึงมีคำเฉพาะเรียกงานคล้ายวันเกิดของพวกเทวดาเหล่านั้น ซึ่งที่พบเห็นมีดังนี้ครับ

บ่านซิว (bān-siū) - 萬壽

ใช้สำหรับเทพระดับบิ๊กๆเท่านั้นครับ เช่น ซำเช้ง 三清道祖 เทพศาสดาของศาสนาเต๋า หรือ หยกอ๋องซ่งเต่ 玉皇大天尊 เทพเจ้าของเทพเจ้า แต่ในหนังสือที่ผมสะแกนมาให้ดูเป็นตัวอย่างนั้น พระเหี้ยนเที้ยนซ่งเต่ ก็ใช้คำว่า บ่านซิ่ว ด้วยนะครับ


เช้งชิว (chheng-chhiu) - 千秋

ใช้สำหรับเทพเจ้าชั้นสูง เช่น ระดับ เทียนเต่ 天帝 หรือ เต่กุน 帝君 เป็นต้นครับ เช่น เทพ 紫微帝君 (หนึ่งใน กิ้วอ๋องไต่เต่ งัย โปรดสังเกตว่ามีการใช้คำว่า 紫 ซึ่งแปลว่าสีม่วง มาใช้เป็นชื่อเรียกท่าน เพราะท่านเกิดตอนเริ่มแรกของการเกิดสรรพสิ่งในจักรวาล หรือ บิ๊กแบง (ไท่จี๋) ครับ และแสงสเปรคตั้ม สีม่วงนั้นมีความถี่สูงสุด และให้ความร้อนสูงสุด ดังนั้น ศาสนาเต๋าจึงให้ความสำคัญกับสีม่วงมากๆๆๆ และเชื่อกันว่า เป็นสีแห่งความบริสุทธิ์ครับ ไม่ใช่สีขาวนะเออ ฮ่าๆ), 天皇大帝 (เที้ยนอ๋องไต่เต่ นี่ก็เป็นหนึ่งในกิ้วอ๋อง), ไท่อิดเทียนจุน 太乙天尊, 普化天尊, 東嶽大帝, 三官大帝 เป็นต้น


หัวต้าน hôa tàn หรือ หัวซิว hôa siū - 華誕,華壽

ใช้กับเทพเจ้าหรือ เซียนที่เป็นเพศหญิงครับ เทพธิดานางฟ้า นั้นเอง
อาทิเช่น 王母娘娘, 斗姆元君, 媽祖 เป็นต้น
แต่ตัวอย่างที่ผมสะแกน จะไม่เห็นใช้คำนี้เน๊อะ เดี๋ยวจะลองไปเปิดอีกเล่มดู เผื่อใช้ไม่เหมือนกัน

เซ้งต้าน sèng-tàn - 聖誕

ใช้กับเทพระดับอาจารย์ (師), เซียน (仙), ฤาษี (真人จินหยิน), นายพล จอมทัพ (天將,天君元帥เที้ยนกุน, หง่วนโซ่ย) หรือ บุคคลในประวัติศาสตร์ที่สำเร็จเป็นเทพ มียศศักดิ์ในสวรรค์ชัดเจน เช่น กวนกง 關公 หรือ งักฮุย 岳飛 เป็นต้น

tàn-sîn ต้านสิน หรือ ซิวต้าน siū tàn - 誕辰, 壽誕

ใช้กับเทพเจ้าทั่วๆไปได้ครับ แต่บางครั้งจะเห็นใช้กันมากโดยเฉพาะกับเทวดาเจ้าที่ 土地公 หรือเทพรักษาเมือง 城隍神 หรือ เทพเจ้าที่อยู่ในโลกของดินและน้ำครับ 地界水界諸神 (ในระบบเทวดาจีนจะแบ่งเป็นสามโลกคือ ฟ้า ดิน และน้ำ ครับ)

งานวันเกิดพระที่จัดกันส่วนใหญ่ที่ผมเห็นมา ส่วนมากผมจะเห็นเน้นการเข้าทรงซะมาก บางทีมีการดื่มเหล้ากันเป็นที่ครึกครื้นอีกด้วย

น้อยมากหรือแทบจะไม่เห็นเลยคือการประชาสัมพันธ์ คุณความดีของเทพเหล่านั้น และระลึกถึงความดีของท่าน เทวดาจีนส่วนใหญ่ตอนมีชิวิตเป็นมนุษย์ ต้องประสบกับความยากลำบากต่างๆนานา เพื่อบรรลุคุณธรรมความดี หรือ ช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ ด้วยกันครับ

บทความนี้เขียนเมื่อ ๒๙ เมษายน ๒๕๕๑

วันอังคารที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

เทพประตูชาวดัทช์








รูปเทพเจ้าประตูที่เห็นเป็นฝรั่งสองคนนี้ อยู่ที่เมืองไท่หนาน ไต้หวันครับ ศาลเจ้านี้มีชื่อว่า 鹿耳門鎮門宮

รูปเทพเจ้าเฝ้าประตูชาวดัทช์นี้ วาดขึ้นเมื่อสามร้อยปีมาแล้วครับ หลังจากที่เจิ้งเฉิงกง 鄭成功 หรือ ก็อกแซ่เอี๊ย 國姓爺 ได้ทำสงครามขับไล่ชาวดัทช์ออกจากเกาะไต้หวัน แล้วก็ได้ให้ช่างวาดเทพเจ้าสององค์นี้ไว้ที่ศาลเจ้าแห่งนี้

จะเห็นว่าเจ้าสององค์นี้ไม่มีรองเท้าใส่ครับ เพราะเป็นฝรั่งทำให้ไม่สามารถหาขนาดรองเท้าที่ชาวจีนใส่ๆกันได้ (จริงๆนะ) ก็เลยวาดเท้าเปล่าซะเลย เล่ากันว่าในช่วงปี ค.ศ.1950-1960 เทพเจ้าฝรั่งสององค์นี้มาเข้าฝันชาวบ้านแถบนั้นให้ช่วยหารองเท้าให้หน่อย เพราะทรมาณเหลือเกินกับที่ต้องไปไหนมาไหนเท้าเปล่า ความเจริญก็เข้ามาเรื่อยๆ เดินเท้าเปล่ามีแต่เชื้อโรค ดีไม่ดี เดี๋ยวเจอหวัดนกเอย พยาธิเอย มาเข้าฝันขอรองเท้าดีกว่า

ตั้งแต่นั้นมาชาวบ้านก็มีงานเฉลิมฉลองในการหาขนาดรองเท้าให้เทพเจ้าสององค์นี้ทุกปีครับ และในปี ค.ศ. 2008 ชาวเมืองไท่หนาน ก็จัดงานรับเทพเจ้าสององค์นี้เป็นประชาชนเมืองไท่หนานอย่างเป็นทางการ และให้ชื่อว่า 耳順 และ 鹿風 ครับ



ใครไปเที่ยววัดนี้ก็คงจะทราบความเป็นมาแล้วนะครับ ส่วนเทพเจ้าสไปเดอร์แมนเฝ้าประตูนั้น เอามาให้ดูแบบขำๆครับ 

สวัสดีครับ

วันเสาร์ที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

การใช้สีเสื้อคลุมกิมสิ้น (神像神袍顏色簡介)

土地公 - ในเสื้อคลุมสีน้ำเงิน (ภาพจาก http://www.taiwantoday.tw )


ปัจจุบันมีกิมสิ้นวางจำหน่ายในท้องตลาดเยอะมากนะครับ หลังจากที่มีกิมสิ้นแล้ว ส่วนใหญ่ก็มักจะมีชุดหรือเสื้อคลุมให้กับกิมสิ้นของตัวเองที่นับถือ คำถามที่ผมจะโดนถามบ่อยๆคือ "จะต้องใช้ชุดสีอะไร" ให้กับกิมสิ้นของเรา

สำหรับระบบเทพเจ้าในศาสนาเต๋านั้น จะมีการระบุตำแหน่งลำดับขั้นอย่างชัดเจนครับ การจะใช้สีอะไรนั้นต้องให้ถูกต้องตามลำดับขั้นของเทพเจ้าองค์นั้นๆครับ ผมมีคำแนะนำดังนี้ครับ

1. หยกหองไต่เทียนจุน หรือ หยกหองซ่งเต่ (玉皇大天尊) - ใช้สีเหลือง หรือ สีม่วง ลายมังกร
2. อ๋องโบ้เหนียวเหนียว (王母娘娘) – ใช้สีเหลือง หรือ สีม่วง ลายมังกร หรือลายนกฟินิกซ์
3. อ๋องเอี๋ย หรือ เชียนโส่ย (王爺與千歲) – ใช้สีส้ม ลายธรรมดาทั่วไป
4. กวนกง หรือ กวนอู (關公) – ใช้สีส้ม, สีแดง หรือสีเขียว ลายมังกร
5. ปุนเถ่ากง หรือฮกเต็กเจี้ยสิน ถือไม้เท้าแบบธรรมดา(木手杖福德正神) – ใช้สีแดง หรือสีน้ำเงิน
6. ปุนเถ่ากง หรือฮกเต็กเจี้ยสิน ถือไม้เท้าหัวมังกร (龍頭手杖福德正神) – ใช้สีแดงหรือสีส้ม
7. ถ่อเต่กง และ ถ่อเต่โป๋ (土地公與土地婆) – ใช้สีน้ำเงิน หรือสีน้ำตาล
8. ม้าจ้อโป๋ (媽祖) – ใช้สีชมพู, สีส้ม หรือสีน้ำเงิน ลายมังกรหรือลายนกฟินิกซ์
9. เสี่ยหอง (城隍) – สีส้มหรือสีแดง ลายทั่วไป
10. จ่ายสิ๋น (財神) - สีส้มหรือสีแดง ลายทั่วไป
11. เตียวเทียนซือ (張天師) – สีส้มหรือสีม่วง ลายทั่วไป หรือลายยันต์แปดเหลี่ยม
12. ก่ำเที้ยนไต่เต่ (許天師或感天大帝) – สีส้มหรือสีแดง ลายทั่วไป หรือลายยันต์แปดเหลี่ยม
13. เหี่ยนเที้ยนซ่งเต่ (玄天上帝) – ใช้สีดำหรือสีน้ำเงินเข้ม ลายมังกร
14. หง่วนโส่ย หรือ สิ๋นเจี่ยง (元帥與神將) – การใช้สีอะไรนั้นให้ขึ้นกับธาตุ หรือทิศ ของเทพนั้นๆไป ถ้าไม่แน่ใจก็ใช้สีแดงครับ

วันพุธที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2555

เทพเจ้าประจำแซ่ต่างๆ 各家姓氏崇祀祖佛


ข้อมูลนี้ได้เขียนแนะนำการกราบไหว้เทพเจ้าประจำตระกูลของแซ่ต่างๆไว้นะครับ อย่างไรก็ตามบางพื้นที่ บางตระกูลก็อาจจะมีความเชื่อที่แตกต่างกันไปนะครับ

各家姓氏崇祀祖佛
陳姓—開漳聖王-陳元光. 唐忠順王-陳邕
謝姓—廣惠聖王-謝安. 謝府元帥-謝玄
林姓—文財神-比干. 天上聖母-林默娘. 敵天大帝-林放
王姓—唐廣武王-王審潮. 武肅王-王審邽. 忠懿王-王審知
張姓—保儀尊王-張巡
郭姓—唐汾陽忠武王-郭子儀. 廣澤尊王-郭忠福
許姓—保儀大夫-許遠
蕭姓—蕭府太傅-蕭望之. 蕭府千歲-蕭何
丁姓—丁府八千歲-丁啟濬
徐姓—徐府千歲-徐懋功
吳姓—保生大帝-吳夲
楊姓—楊府元帥-楊延昭. 大德禪師-楊五郎
沈姓—武德尊侯-沈彪
蔡姓—蔡府千歲-蔡襄
岳姓—精忠武穆王-岳飛
李姓—太上老君-李耳
孔姓—至聖先師-孔丘
鄭姓—明延平郡王-鄭成功
施姓—清靖海侯-施琅
包姓—閻羅天子-包青天
趙姓—趙府元帥-趙子龍
薛姓—薛府千歲-薛仁貴
蘇姓—蘇府千歲-蘇東波

林姓--晉安郡王(林牧公)
劉姓--中山靖王(劉勝)
巫姓--巫府千歲
曾姓--宗聖公(曾參)
張姓--文昌帝君(張亞子)
黃姓--東嶽大帝(黃飛虎)、助順將軍(黃道周)
何姓--安撫尊王(何嗣韓)
李姓--太上道祖(李耳)、托塔天王(李靖)、中壇元帥(李哪吒)
許姓--昭應侯(許天正)、感天大帝(許遜)
孫姓--孫真人(孫思邈)
駱姓--駱府千歲
童姓--童瀨將軍(董仲穎)董童聯宗

台北金山-許姓 --唐宣威將軍-許天正
芳苑王功-林姓 --宋同安理學家-林希元
北港-柯蔡兩姓 --端明殿大學士-柯氏忠烈公 蔡氏忠惠公
屏東大埔.高雄茄萣.台南喜樹-郭姓 --三聖祖佛-老先生-陳姓 十二始祖-郭淑 三元真君-洪熹
義竹-翁姓 --安溪董公真人

大使公(王孫大使)-陳井陳姓(廈門灌縣)
-嘉義鹿草圓山宮、雲林東勢南天宮、彰化二林圓和宮
康濟明王(王審知)-蓮溪葉氏(廈門蓮阪)
東峰大帝(江萬里)-鹿陶洋江姓
里主尊王(施全)-鹿草施姓(今華封堂)
代天金帝 --太保水虞厝葉氏(葉祖厝)開基祖(葉覲美)

雲林斗南-李姓 --輔信王公-李百苗(為隴西宮,又名李祖廟)

彰化田中-謝姓 --謝安王爺、謝玄元帥(為寶樹宮,原名謝氏家廟)

彰化鹿港北頭-郭姓 --唐忠武王-郭子儀、廣澤尊王-郭忠福(為保安宮)
台南西港大竹林大塭寮-郭姓 --唐忠武王-郭子儀、廣澤尊王-郭忠福(為汾陽殿)

雲林台西-丁姓 --丁府八千歲-丁啟濬(為萬厝濟陽府,當地丁姓人家稱其為叔王)

source: http://tw.myblog.yahoo.com/jw!f3UkS_OQHw8etVHZI2xhF8k-/article?mid=6015&prev=6453&next=4564&l=f&fid=102

วันอังคารที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2555

通书 - ถองสู้ ปฏิทินโหราศาสตร์จีน



สิ่งที่ผมมักจะได้ยินอยู่เสมอเวลาไปที่อ้าม(ศาลเจ้า) เวลามีม้าทรงใหม่ๆ ลงพระใหม่ๆ แล้วคนในศาลเจ้ามักจะพูดว่า "เปิดถองสู้ดูซิ ว่าพระนี้มีหรือเปล่า" หรือ "เปิดถองสู้ดูซิว่าประวัติพระนี่เป็นอย่างไร"

ผมก็อยากจะบอกโกๆ แปะๆ ในอ้ามนะครับว่า ถองสู้นี่มันไม่ใช่หนังสือประวัติเทพเจ้าจีนนะเออ ถองสู้ หรือ ถองซู ในภาษาจีนกลาง (通书 พินอิน tōng shū หมิ่นหนาน thong-su) นี่นะคือปฏิทินโหราศาสตร์นั้นเองครับ

ถองสู้ จะมีการพยากรณ์วันในปฏิทินจันทรคติของจีน ว่าเป็นวันดีหรือวันไม่ดี วันนี้ควรทำอะไร หรือไม่ควรทำอะไร ซึ่งคำแนะนำบางครั้งถ้าคนสมัยใหม่อ่านแล้วอาจจะดูว่าไม่มีเหตุผล ไม่เมคเซ็นส์ แต่ชาวจีนก็อาศัยถองสู้เป็นไกด์ไลน์ในการดำเนินชีวิตมาไม่น้อยกว่าสองพันปีมาแล้ว คำแนะนำในถองสู้นั้นสามารถนำมาใช้ง่ายๆในทุกๆวัน หรือ สามารถใช้พยากรณ์เหตุการณ์ หรือหาฤกษ์ยามในกรณีที่ซับซ้อนซ่อนเงื่อน ของบรรดาเหล่าซินแซทั้งหลายอีกด้วยครับ

ปัจจุบันถองสู้มีพิมพ์กันหลายเวอร์ชั่น หลายรูปแบบ แต่ที่หลักๆนั้นก็จะแสดง วันตามจันทรคติ พร้อมคำพยากรณ์ในวันนั้นสั้นๆ, เลขศาสตร์, รอบการพยากรณ์, เทศกาลต่างๆที่ตรงกับวันที่แสดง, สิ่งที่ควรทำ, สิ่งที่ไม่ควรทำ, ทิศที่ดีและไม่ดี และอื่นๆอีกมากครับ

ผมคิดว่าหลายบ้านก็มีถองสู้อยู่ในบ้านครับ ที่พบมากในบ้านเรา ผมเห็นเป็นของสำนักน่ำเอี้ยงครับ ผมว่าของแกครองตลาดอยู่เป็นเจ้าใหญ่เลยละ เดี๋ยวนี้สามารถดูถองสู้ออนไลน์ได้ ตามยุคดิจิตอลและยุคหวัดสองพันเก้า ลองเข้าเวบนี้ดูครับ ถองสู้ดอทคอม ฮ่าๆ http://www.tongshu.com/

หมายเหตุ: บทความเก่า เขียนเมื่อ Sep 27, '09 3:20 PM

วันศุกร์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ที่มาของพิธีการเข้าทรงของคนจีน

เป็นอีกบทความที่เอามาเล่าใหม่จากเวบบล็อกอันเก่านะครับ ก็จะค่อยๆ ทยอยมาโพสไว้ในเวบครับ ขอบคุณครับ

การบูชาต่างกี่หรือการเข้าทรงของคนจีนนั้น ถือได้ว่าเป็นความเชื่อศาสนา ที่โบราณที่สุดของจีน พิธีกรรมทรงเจ้าต่างๆ ในปัจจุบัน คือ มรดกทางประวัติศาสตร์กว่า 5,000 ปี ของการปฏิบัติพิธีกรรมนี้

ต่างกี่หรือม้าทรง ในฐานะของสื่อกลางระหว่างเทพนักรบ หรือเทพบรรพบุรุษ ได้ถูกพัฒนาขึ้น จากความเชื่อของชาวชนเผ่าโบราณ ก่อนยุคที่มีความเชื่อทางศาสนาของจีน ซึ่งต้นกำเนิดสามารถสืบค้นไปถึงพิธีกรรมของชนเผ่าเย้า (瑤) (1) ซึ่งเคยใช้ชีวิตอยู่บริเวณภาคใต้ของประเทศจีนในช่วง 3,000 ปี ก่อนคริสตกาล ซึ่งมีพิธีทางเวทย์มนต์และจิตวิญญาณของชนเผ่าเย้าแบบหนึ่งที่เรียกว่า “การเต้นหยู” (Yu Step-禹步) ซึ่งเป็นพิธีของผู้ชายโดยการการเต้นรำเบื้องหน้าแท่นบูชา

การเต้นหยูนั้นถือได้ว่าเป็นการแสดงเวทมนต์ที่มีพลังมากที่สุดในศาสนาเต๋า การเต้นนั้นได้รับการพัฒนาจากชนเผ่าเย้า ซึ่งดั้งเดิมซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของพิธีกรรมทางเวทย์มนต์ที่หมอผีได้กระทำขึ้นเพื่อให้มีอำนาจวิเศษและสามารถนำไปใช้ในการควบคุมสิ่งต่างๆ เช่น งูพิษ, ปลาผี และวิญญาณต่างๆ ซึ่งต่อมามีบันทึกว่าพิธีทางศาสนาของเผ่าเย้าได้ถูกซึมซับมาโดยชนเผ่าเย่ว์ (越) ซึ่งมีความเจริญต่อมาจนเป็นหนึ่งในนครรัฐอิสระของจีนในสมัยชุนชิว (春秋) (2) ยุคราชวงศ์โจว (周朝)

ปีที่ 306 ก่อนคริสกาล ในยุคจ้านกว๋อ(战国) (3) นครรัฐเย่ว์ ได้ถูกยึดครองโดยนครรัฐฉู่ (楚) โอรสองค์หนึ่งของเจ้านครรัฐเย่ว์ชื่ออู่จู (无诸)(4) ได้หลบหนีออกทางทะเลและได้ขึ้นฝั่งบริเวณใกล้เมืองฟู่โจว (福 州) มณฑลฮกเกี้ยน (福建) และได้สร้างอาณาจักรขึ้นมาใหม่โดยให้ชื่อหมิ่นเย่ว์ (闽越) โดยอาณาจักรหมิ่นเย่ว์ปักหลักเจริญรุ่งเรืองอยู่บริเวณตอนใต้ แถบเมืองเซี่ยเหมิน (厦门) ซึ่งในปัจจุบันเป็นจุดศูนย์กลางของชาวหมิ่นหนานหรือชาวฮกเกี้ยนและเป็นถิ่นกำเนิดของการบูชาต่างกี่จนถึงทุกวันนี้ จากข้อมูลทางประวัติศาสตร์ข้างต้นนี้ นำไปสู่ข้อสรุปได้ว่าการลงเข้าบูชาต่างกี่ในปัจจุบันนั้นมีต้นกำเนิดมาจากการเดินหยูซึ่งเป็นพิธีกรรมทางศาสนาเผ่าเย้านั้นเอง

การรับเอาพิธีกรรมของชาวชนเผ่ามาเป็นของคนจีน

การสืบค้นที่มาของการบูชาต่างกี่นั้น สามารถสืบได้มาจากพิธีกรรมการบูชาบรรพบุรุษของชนเผ่าเย้าและพิธีกรรมการเดินหยู โดยได้ถูกซึมซับเข้าสู่วัฒนธรรมจีนโดยผ่านระบบศักดินาของนครรัฐเย่ว์ ก่อนที่จะมาพัฒนาเป็นรูปแบบที่เราเห็นในปัจจุบัน ณ มณฑลฮกเกี้ยนของจีน ซึ่งเป็นศูนย์อำนาจของอาณาจักรหมิ่นเย่ว์โบราณ

เมื่อต้นแบบของพิธีกรรมการเต้นของเผ่าเย่ว์ ซึ่งเป็นกลุ่มชนเผ่าโบราณ ได้ถูกซึมซับมาเป็นพิธีกรรมของชนชาติจีนอันยิ่งใหญ่ ดังนั้นมันจึงได้ถูกเปลี่ยนเป็นพิธีกรรมของจีน ผ่านทางตำนานที่ยิ่งใหญ่เช่นกัน โดยตำนานกล่าวว่า พิธีการเต้นหยูนั้นเป็นการคิดค้นโดยต้าหยู (大禹)(5)ซึ่งเป็นหนึ่งในสามของกษัตริย์ในตำนานของผู้สร้างจักรวรรดิจีน และได้รับการนับถือว่าเป็นปฐมกษัตริย์ของราชวงศ์เซี่ย (夏) ซึ่งเป็นต้นแบบราชวงศ์ของจีนในยุคต่อมา ที่สำคัญก็คือ กษัตริย์หยู คือวีรบุรุษในตำนานของชาวเย่ว์อีกด้วย โดยชื่อต้าหยู (大禹) นั้นมีความสัมพันธ์กับอาณาจักรหมิ่นเย่ว์ (闽越) ผ่านทางอักษร 虫 (ฉง) ซึ่งแปลว่าหนอน และยังนำอักษรตัวนี้มาเป็นส่วนประกอบของอักษร 蛇 (เสอ) ซึ่งแปลว่างู และงูก็เป็นสัตว์สัญลักษณ์ของชาวเผ่าเย้าอีกด้วย

ภาพการประกอบพิธีของหมอผีชาวเย้า(เมี่ยน) ทางภาคเหนือของประเทศไทย

หน้ากากรูปเทพเจ้าที่พระชาวเย้าใช้ประดับบนศีรษะขณะประกอบพิธีกรรมทางศาสนา ภาพจาก http://www.nomadsjourney.com

อรรถธิบาย

(1) ชาวเย้า瑤族 หรือชาวเมี่ยน ได้รับการจัดให้อยู่ในเชื้อชาติ มองโกลอยด์ คืออยู่ในตระกูลจีนธิเบต ได้ปรากฏครั้งแรกในเอกสารบันทึกของจีน สมัยราชวงศ์ถัง โดยปรากฏในชื่อ ม่อเย้า มีความหมายว่าไม่อยู่ใต้อำนาจของผู้ใด เล่ากันว่า เมื่อประมาณ 2000 กว่าปีมาแล้วบรรพชน ได้ตั้งถิ่นฐานอยู่ที่ราบรอบทะเลสาปตงถิง แถบแม่น้ำแยงซี ยอมอ่อนน้อมให้ชนชาติผู้ปกครองรัฐ และไม่ยินยอมอยู่ภายใต้การบังคับกดขี่ของรัฐ จึงได้ทำการอพยพเข้าไปในป่าลึกบนภูเขาสูง ได้ตั้งถิ่นฐานสร้างบ้านด้วยมือของเขาเอง เพื่อปกป้องเสรีภาพจึงถูกขนานนามว่า ม่อเย้า ซึ่ง เหยาซีเหลียน ได้บันทึกไว้ในเหลียงซูต่อมาในสมัยราชวงศ์ซ่ง คำเรียกนี้ี้ถูกยกเลิกไปเหลือแต่คำว่า "เย้า" เท่านั้น

(2) ยุคชุนชิว(春秋時代) ประมาณ 770 ปีก่อนคริสต์ศักราช – 476 ปีก่อนคริสต์ศักราช เป็นยุคหนึ่งในราชวงศ์โจว ราชวงศ์ที่ยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์จีน นับเป็นยุคสมัยที่ได้รับการกล่าวขานอย่างมากในแง่ต่าง ๆ เนื่องจากเป็นยุคที่นครรัฐแต่ละรัฐรบด้วยด้วยกลอุบายที่แยบยล ก่อให้เกิดเป็นตำนานและเรื่องเล่าขานมากมายจนปัจจุบัน และเป็นต้นเรื่องที่ทำให้เกิดวรรณคดีจีนเรื่องสำคัญอีกเรื่อง คือ เลียดก๊ก ซึ่งการรบในยุคเลียดก๊กนั้นหลายเรื่องได้ถูกอ้างอิงในสามก๊กที่เกิดหลังจากนี้อีกนับพันปีต่อมา

(3) ยุคจ้านกว๋อ(战国时代) หรือ เลียดก๊ก (475-221 ปีก่อนค.ศ.) เป็นยุคย่อยยุคที่ 2 ในสมัยราชวงศ์โจวตะวันออก ต่อจากยุคชุนชิว โดยในยุคนี้เป็นยุคที่เหลือแคว้นใหญ่ที่ทำสงครามแย่งชิงอำนาจกันเพียง 7 แคว้น คือ ฉู่, ฉี, หาน, เอี้ยน, จ้าว,เว่ย และฉิน โดยทั้ง 7 แคว้นนี้ทำสงครามกันมายาวนาถึง 255 ปี ก่อนที่ฉินหวางเจิ้ง(ฉินอ๋องเจิ้ง)จะรวบรวมแผ่นดินจนเป็นปึกแผ่นได้สำเร็จเมื่อ 221 ปีก่อนค.ศ.

(4) 閩越王 - 無諸 史记•东越列传:闽越王无诸及越东海王摇者,其先皆越王勾践之后也,姓驺氏 - http://zh.wikipedia.org/zh/无诸

(5)กษัตริย์อวี่ (禹) มีชีวิตอยู่ในช่วง 2194 ปีก่อนคริสตกาล ถึง 2149 ปีก่อนคริสตกาล เป็นปฐมกษัตริย์ราชวงศ์เซี่ย (夏) ซึ่งนับเป็นราชวงศ์แรกของประเทศจีนที่มีการสืบราชบัลลังก์โดยสายเลือด เชื่อกันว่าเกิดที่หมู่บ้านเป่ยฉวน (北川) ซึ่งปัจจุบันอยู่ในมณฑลเสฉวน (四川) ได้รับยกย่องเป็นหนึ่งในสามกษัตริย์ ห้าจักรพรรดิผู้ยิ่งใหญ่ของจีน (三皇五帝) เดิมเขาเป็นขุนนางในสมัยที่พระเจ้าซุ่นเป็นกษัตริย์ปกครองประเทศจีน มีผลงานที่โด่งดังคือการคิดค้นระบบชลประทานเพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วม
อ้างอิง

1) Margaret Chan - THE ORIGIN OF TANG-KI WORSHIP
2) http://www.pbs.org
3) http://www.peoplesoftheworld.org
4) http://www.nomadsjourney.com
5) http://www.tribalartasia.com
6) http://www.mekongantiques.com
7) http://zh.wikipedia.org

*** บทความนี้ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ แก้ไขล่าสุด 29 nov 2010 ***
เรียบเรียงโดย cyberjoob@hotmail.com

วันพฤหัสบดีที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2555

กินเจอย่างไรให้ได้ประโยชน์สูงสุด



ขณะที่เขียนนี้ก็อยู่ในระหว่างเทศกาลกินเจ ปี ๒๕๕๕ ครับ ก็เขียนตามเทศกาลกันไปครับ
คนทั่วไปเข้าร่วมเทศกาลกินเจ ก็เพื่อต้องการได้รับประโยชน์ที่ต่างๆกันไป เช่น ต้องการงดเว้นเนื้อสัตว์ ก็จะได้บุญในลักษณะของการให้ทาน (ให้ชีวิต) บางคนก็หวังให้มีโชคดีจากเทพเจ้า บางคนก็เพื่อรักษาสุขภาพ บางคนก็เพื่อรักษาศีลอื่นๆ เพิ่มเติมไประหว่างเทศกาลด้วย

การเข้าร่วมเทศกาลกินเจนี้ สำหรับผมแล้ว เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุด ผมคิดว่า ควรที่จะมาดูแลกันในระดับจิตมากกว่าครับ การกินเจนี้ ถือเป็นการสร้างพลังจิต สร้างบารมี เป็นการตั้งสัจบารมี อธิษฐานบารมี อย่างหนึ่ง ซึ่งเราต้องตั้งใจ ที่จะงดเว้นการกินเนื้อสัตว์ และรักษาศีลอะไรก็ว่าไป ซึ่งเราต้องทำให้ได้

ระหว่างที่เรากำลังอยู่ในช่วงทานเจนั้น ก็ใช้สติในการเฝ้าดูจิตใจของเรา ว่าคิดอย่างไร รู้สึกอย่างไร เวลามีสิ่งเร้าต่างๆ ใช้พลังจิตต่อสู้กับสิ่งที่ทำให้เราผิดสัจจะได้ ทำได้อย่างนี้จึงจะเกิดประโยชน์และได้อานิสงส์สูงสุดในการถือศีลกินเจครับ

แต่สิ่งที่ผมเห็นในปัจจุบันคือ กินเจกันเก้าวัน พอเลิกเจก็พากันทานเหล้าฉลองเมามาย สร้างบาปมากกว่าสร้างบุญครับ

สวัสดีครับ

ขอบคุณภาพจาก TheTrippacker.com

วันเสาร์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2555

ปัวะโปย (擲筊)คำทำนายจากเทพเจ้าที่เราคุ้นเคย


ฉันจะได้แต่งงานในปีนี้หรือเปล่า? กระเป๋าสตางค์ที่หายไปจะหาเจอหรือเปล่า? จะเปลี่ยนงานใหม่ดีไหม? ปีนี้จะได้บ้านหลังใหม่หรือเปล่า? จะหายจากโรคที่เป็นอยู่หรือเปล่า? คำถามเกี่ยวกับสุขภาพ ความมั่งคั่ง อาชีพ และความรัก เหล่านี้ เมื่อไม่มีทางออก จะถูกตั้งคำถามไปยังเทพเจ้าที่เรานับถือ และได้รับการแนะนำจากเทพเจ้าผ่านการเสี่ยงทาย ที่เรียกว่า “โปย” (筊) ซึ่งเป็นชิ้นไม้สีแดง รูปร่างเหมือนพระจันทร์เสี้ยว ประกบกันสองชิ้น ด้านหนึ่งมีลักษณะโค้งมน (ด้านหยิน) ส่วนอีกด้านมีลักษณะเรียบ (ด้านหยาง) ซึ่งเมื่อเราไป ตามศาลเจ้า หรือวัดจีน มักจะได้ยินเสียงไม้คู่นี้ ดังกระทบพื้นคู่กับเสียงเขย่ากระบอกเซียมซี อยู่เป็นประจำ 

ขั้นตอนในการใช้โปยนั้น อาจจะแตกต่างกันไปตามความเชื่อของท้องถิ่นบ้าง แต่ในการอ่านผลของการเลี่ยงทายหลังจากโยนโปยแล้ว จะมีการอ่านที่เป็นสากลเหมือนกัน แต่ก่อนที่เราจะเสี่ยงทายนั้น ผมมีข้อแนะนำ 2 ข้อ ซึ่งจะมีผลในความแม่นยำของการเสี่ยงทาย ดังนี้ครับ

ศรัทธาและออกจากใจ - คุณต้องมีความศรัทธาในพลังศักดิ์สิทธิ์ของเทพเจ้า มีความเชื่อในสิ่งที่คุณจะถาม เชื่อในคำตอบที่จะได้รับ ถ้าคำถามนั้นไม่มีพลังความเชื่อ หรือออกจากใจของเราจริงๆ ผลการทำนายจะมีความแม่นยำลดลงครับ

หาศาลเจ้าที่เหมาะสม - แนะนำให้หาศาลเจ้าหรือวัดที่เรานับถือศรัทธา ซึ่งจะมีผลทำให้เรารู้สึกสบายใจในการไปเสี่ยงทายครับ 

เมื่อพร้อมที่จะโยนโปยเสี่ยงทาย ให้เราโค้งคำนับเทพเจ้า พร้อมกล่าวบอกชื่อของเรา และตั้งคำถาม ถือโปยด้วยสองมือ ยกขึ้นสูงประมาณระดับสายตา แล้วโยนลงพื้นเพื่อดูผล การเสี่ยงทาย ที่นี้มาดูผลการเสี่ยงทายของไม้ทั้งสองชิ้นกันครับ 

เชี่ยวโปย
 หงาย - หงาย เรียก เชี่ยวโปย (笑筊) 
หมายถึง คำถามนั้นไม่สามารถให้คำตอบได้ ซึ่งอาจจะเป็นเพราะคำถามคลุมเครือ หรือแปลได้ว่าเทพเจ้ากำลังยิ้มหัวเราะอยู่ เพราะเราถามในคำถามที่เรารู้คำตอบอยู่แล้ว ให้เราพิจรณาเปลี่ยนคำถามใหม่ให้ชัดเจนขึ้น หรือถ้าเป็นการเสี่ยงเซียมซี ให้ทำการเสี่ยง ไม้เซียมซีใหม่ แล้วโยนโปยถามอีกครั้งครับ

อิ้นโปย หรือ เส้งโปย

คว่ำ - หงาย เรียก เส้งโปย(聖筊)หรือ อิ้นโปย (允筊)
หมายถึง ใช่ ได้ ถูกต้อง ถ้าเป็นเซียมซี หมายถึงไม้เซียมนี้อันนี้ถูกต้องแล้ว

อิมโปย หรือ ข่าวโปย


คว่ำ - คว่ำ เรียก ข่าวโปย (哭筊) หรืออิมโปย (陰筊)
หมายถึง ไม่ใช่ ไม่ได้ ไม่ถูกต้อง ถ้าเป็นเซียมซี หมายถึงไม้เซียมนี้อันนี้ไม่ถูกต้อง ต้องทำการเสี่ยงอีกครั้ง 

การใช้โปย นอกจากจะใช้คู่กับเสี่ยงเซียมซีแล้ว ยังใช้ในการเสี่ยงทายพิธีกรรมทาง ศาสนาเต๋าในศาลเจ้าอีกด้วย เช่นการเสี่ยงทายเครื่องเซ่นไหว้ หรือเสี่ยงทายเวลาในการเริ่ม ทำพิธีกรรมต่างๆ ซึ่งมักจะโยนโปยกันสามครั้ง เพื่อให้ผลการเสี่ยงทายตรงกัน

การขอคำแนะนำจากเทพเจ้าที่เรานับถือศรัทธา ถือได้ว่าเป็นทางเลือกอีกอย่างหนึ่งใน การพิจรณาตัดสินทางเดินของเราในบางครั้ง แต่อย่างไรก็ตาม การดำเนินชีวิตอย่างมีสติ พิจรณาปัญหาต่างๆด้วยปัญญา ตั้งมั่นอยู่ในคุณงามความดี ถึงเราไม่ต้องอ้อนวอนเทพเจ้า เทพเจ้าก็จะต้องช่วยเราแน่นอนครับ

 หมายเหตุ - คำอ่านภาษาจีนผู้เขียนใช้สำเนียงฮกเกี้ยน โดยมีอักษรจีนกำกับ

วันเสาร์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2553

เรื่องของเต้าเตง (道教斗燈/斗首之簡介)



วันนี้จะมาแนะนำเรื่อง เต้าเตง(斗燈) หรือ เต้าชิ้ว(斗首) ครับ เพราะปัจจุบันมีคนรู้เรื่องนี้น้อยและส่วนใหญ่จะไม่เข้าใจถึงจุดประสงค์ในการจุดเต้าเตง

ในการประกอบพิธีกรรมของเต๋านั้น ปกติแล้วเต้าเตงจะถูกปลุกเสกและจุดขึ้นในระหว่างพิธีกรรมการบูชาเต้าโบ้หง่วนกุน (斗母元君)และเทพเจ้าดาวเหนือทั้งเก้าหรือปักเต้ากิ้วหองซู่ฮกแชกุน (北斗九皇賜福星君) จุดประสงค์ในการปลุกเสกและจุดตะเกียงนั้น เพื่อเป็นการอธิฐานในการขับไล่สิ่งชั่วร้าย และบาปต่างๆ (消災解厄) อีกทั้งยังเป็นการขอพรให้บุพการีมีอายุยืนยาวอีกด้วย (延生長壽)

นอกจากเต้าเตงจะถูกใช้ในพิธีข้างต้นแล้ว ปัจจุบันมีพิธีกรรมต่างๆ ที่มักจะมีการจุดเต้าเต่งเพิ่มเติมดังนี้คือ พิธีขอพรในวันขึ้นปีใหม่จีน (新春祈福禮斗), พิธีขอพรในเรื่องของการศึกษาเล่าเรียนหรือการสอบแข่งขัน (文昌長智禮斗), พิธีขอพรในเรื่องการค้า (生意通順禮斗) และพิธีตามความเชื่ออื่นๆ

ในการปลุกเสกหรือการจุดเต้าเตงนั้น จะต้องกระทำโดยผู้ที่ได้รับการฝึกมาครับ หรือต้องเป็นนักพรตเต๋า ก่อนที่จะทำการปลุกเสกหรือจุดตะเกียงนั้น นักพรตจะต้องมีการรายงานบอกกล่าวชื่อ วันเกิด ที่อยู่ ของผู้เป็นเจ้าของเต้าเต่งต่อเทพเจ้า เพื่อเทพเจ้าจะได้รับรู้และมาร่วมประกอบพิธีครับ ดังนั้นข้อมูลเหล่านี้จะต้องเตรียมไว้ในนักพรตเต๋าครับ

เมื่อถึงวันที่เป็นมงคลแล้ว นักพรตเต๋าจะใช้เวลาประมาณครึ่งชั่วโมงประกอบพิธีที่เรียกว่า คายเต้า (開斗科儀) ซึ่งพิธีนี้นักพรตเต๋าจะทำการอัญเชิญเทพเจ้าที่เกี่ยวข้องมาร่วมประกอบพิธีและอ่านรายงานครับ ปัจจุบันจะไม่ค่อยพบการประกอบพิธีคายเต้านี้ครับ อาจเป็นเพราะมีนักพรตที่ได้รับการฝึกประกอบพิธีนี้มีน้อย หรือมีการบิดเบือนจนหายสาบสูญไป ก็เป็นไปได้ครับ...น่าเสียดายอย่างยิ่ง

ในการประกอบพิธรกรรมนั้น จะมีสิ่งของหลายอย่างที่จะต้องใช้ใส่ในเต้าเตง ซึ่งทั้งหมดจะต้องได้รับการปลุกเสกก่อนทั้้งสิ้น ก่อนที่พิธีกรรมนี้จะเสร็จสิ้น นักพรตเต๋าจะทำการอัญเชิญสิ่งของสุดท้ายนั้นคือ ไฟแห่งเทพ (丙丁火) เพื่อทำการจุดตะเกียงให้แสงสว่างและเพื่อขอให้อายุยืนยาว (光明延壽) ก็เป็นอันเสร็จพิธีกรรมนี้ครับ

สิ่งสำคัญคือเมื่อตะเกียงได้ถูกจุดขึ้นแล้วนั้น ต้องระวังไม่ให้ตะเกียงดับครับ และต้องดูแลเก็บเต้าเตงเป็นอย่างดีครับ

ขอบคุณภาพจาก 臺灣節慶之美 http://ttf.ncfta.gov.tw และ http://javewu.multiply.com

วันเสาร์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2552

ฮกซานเก้ง – 福山宫

ฮกซานเก้ง – 福山宫



ภาพบริเวณศาลเจ้า



ฮกซานเก้ง เป็นศาลเจ้าฮกเต็กเจี้ยสิน (福德正神) ที่เก่าแก่แห่งหนึ่งในจังหวัดภูเก็ต ปัจจุบันตั้งอยู่ที่ บริเวณถนนวิชิตสงคราม อำเภอกะทู้ เดิมนั้นมีชื่อว่า ศาลเจ้าฮกซานซู่ (福山祠) บริเวณที่ตั้งของศาลเจ้าฮกซานเก้งนั้น เป็นชุมชนทำเหมืองแร่ดีบุกโบราณที่เรียกว่า ชุมชนหลิมซาน (林山) ซึ่งเดิมจุดที่ตั้งศาลเจ้าอยู่นี้ เป็นจุดที่เป็นเส้นทางผ่านในการเดินทางระหว่างชุมชนกะทู้ และ ตัวเมืองภูเก็ต หรือเรียกว่า ทุ่งคา ในสมัยก่อน

วันศุกร์ที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2552

道教诸真圣号、宫阙

三清:玉清圣境元始天尊 玉几下 清微天宫

上清真境灵宝天尊 玉几下 禹馀天宫

太清仙境道德天尊 玉几下 大赤天宫

三清总号:虚无自然大罗三清三境三宝天尊 玉几下 三宝景阳宫

玉皇:昊天金阙至尊玉皇上帝 御陛下吴天通明宫

天皇:百灵之宗天皇大帝 御陛下勾陈上宫

紫微:万灵之主紫微大帝 玉几下星汉天宫

又:紫微元皇天尊 玉几下星汉天宫

后土:万灵之主后土皇地帝祗琼阙下 九华玉阙

南极:南极生长大帝统天元圣天尊 御陛下 金阙高上神霄府

四御总号:大罗玉京金阙四御四皇上帝 御陛下 四御宫

三皇:天地人甲三皇上帝 御陛下 三皇帝阙

又:开明祖劫天尊 御陛下 天地人甲宫 子会天宫

五老:东方青灵始老苍帝九气天君 阙下 青灵始老宫

南方丹灵真老赤帝三气天君 阙下 丹灵真老宫

西方皓灵皇老白帝七气天君 阙下 皓灵皇老宫

北方五灵玄老黑帝五气天君 阙下 五灵玄老宫

中央元灵元老黄帝一气天君 阙下 黄灵元老宫

五老总号:天地始祖五老上帝 阙下 五老帝阙

王母:万仙至尊玉池王母宠德碧霞元君 懿前 瑶池仙宫

斗姥:“圣德巨光天后摩利支天大圣先天斗姥元君獬座下 大梵天宫

九皇:天英:北斗第一阳明贪狼太星君 垣下 天元宫 太上宫

天任:北斗第二阴精巨门元星君 垣下 地元宫 中元宫

天柱:北斗第三真人禄存贞星君 垣下 日元宫 真元宫

天心:北斗第四玄冥文曲纽星君 垣下 月元宫 纽幽宫

天禽:北斗第五丹元廉贞罡星君 垣下 江元宫 纲神宫 ,

天辅:北斗第六北极武曲纪星君 垣下 河元宫 阳宫

天冲:北斗第七天关破军关星君 垣下 海元宫 关会宫

天芮:北斗第八洞明外辅星君 垣下 帝座宫 帝度宫

天蓬:北斗第九隐光内弼星君 垣下 上尊宫

九星总号:中天大圣北斗九皇九真延生解厄上道星君 玉垣下 北斗九皇宫

七星:中天大圣北斗七元延生星君 垣下 北斗旋玑宫

五斗:五方五宿五斗星君 垣下 五极星宫

五星:金木水火土五镇星君五行应运天尊星垣下 造化利生宫

生神:九天自然生神上帝 阙下 九天生神玉京宫

无量:三十二天上帝度人无量天尊 御陛下 度人无量宫 无量天皇宫

真武:玉虚师相玄天上帝金阙化身荡魔天尊御陛下 北极真武宫

天真皇人:校经主宰大夫天真皇人 法幕下 画一天宫

广成:太玄元父广成天师金亭序事赞化祖师真君法篆常中 天尊青城洞天宫

木公:东华木公青童道君 阙下 东极紫府

金母:西极金母宏慈大妙元君 琼阙下西灵无上宫

太阳:日宫郁仪帝君慈辉朱日天尊 垣下郁仪扶桑宫

太阴:月府结磷皇君妙果素月天尊 垣下素曜天宫

三星:紫微龙德福禄寿三星真君宏德广应天尊 星垣下 天德福幕宫

魁星:文衡大帝南极斗口魁神星君广播帝教天尊 星垣下 奎光保运府

又:九天宣化扶文启运魁斗星君 垣下 保运府

天官:上元九气赐福天官曜灵元阳大帝紫微帝君总真应见天尊 宝阙下 上元覃恩府

地官:中元七气赦罪地官洞灵青虚大帝青灵帝君平等应善天尊 宝阙上 中元覃宥府

水官:下元五气解厄水官金灵洞阴大帝旸谷帝君法流远洽天尊 宝阙下 下元通济宫

火官:赤元上品三气火官炎帝真君洞阳大帝南丹纪寿天尊 荧惑宫

三官总号:玉真天地水府三元三品三官大帝阙下三元妙纬宫 三元总圣宫

雷祖:高上玉霄九天雷祖大帝除灾利物天尊法陛下 禹极雷霆宫

雷神:高上神霄九天应元雷声普化天尊神霄光明大帝 法陛下 九天应元府

救苦:太乙救苦天尊青玄九阳上帝 狮座下 东极妙严宫

张天师:祖师三天扶教辅元体道雷霆玄省天机内相冲应孚佑真君 法幕下天机府

葛天师:太级左宫仙翁雷霆玄省天机内相冲应孚佑真君 法陛下 天机府

许天师:九州都仙大史雷霆泰省天枢伏魔上真神功妙济真君 法幕下 天机府

萨天师:祖师先天教主掌风云雷雨尚书一元无上萨翁真君 法幕下 天机府

天王君:先天一气威灵显化天尊 麾下都天豁落府

马天君:正一监经灵官马天君 麾下 六天火府

四灵官:玄帝御前护卫三境四灵四圣王马赵温四大元帅 麾下 丹天风火院

中极马赵温岳:祖师中极人天圣主广济高真开元普化救苦天尊 御前 中极太玄宫

四极:金阙都堂主宰天蓬天猷翌圣佑圣四真君 法陛下 金阙都堂院

八仙:吕祖:纯阳演正警化孚佑帝君兴行妙道天尊 演正天宫

曹祖:黄华洞天帝主超凡入圣天尊 黄华洞天

蓝祖:万华洞天帝主流光耀采天尊 万华洞天

李祖:西华洞天帝主超登莲华天尊 西华洞天

张祖:中条洞天帝主通玄应变天尊 中条洞天

韩祖:瑶华洞天帝主圆通早觉天尊 瑶华洞天

何祖:清霞洞天仙姑宏慈妙法元君 青霞洞天

钟祖:终南洞天帝主飞行救劫天尊 威烈猛义府

东岳:东岳天齐大生仁元圣帝 陛下蓬玄天宫 东岳泰岱宫

西岳:西岳金天大利顺圣上帝 陛下 素元天宫 太华宫 灏灵天宫

南岳:南岳司天大化召圣上帝 陛下衡霍宫南岳宸霆宫

北岳:北岳安天大贞元圣上帝 陛下洞渊天宫 垣庐宫

中岳:中岳中天大宁祟圣上帝 陛下大光天宫 嵩阳宫

幽用北岳:祖师北岳教主龙德上真玉眸炼质天尊 陛下 北岳上宫

五岳丈人:灵枢毓秀五岳丈人大元解惠天尊圣前 五岳灵妙宫

南岳魏夫人:云霞玉女大法教主南岳夫人魏元君开玄道济天尊 法幕下云霞大法院

十方灵宝:十方太上灵宝天尊 位下 十方灵宝宫

诸神总号:天地三界十方万灵真宰神光普照天尊 位前 三界总圣宫

孔子:大成至圣先师孔子文宣王兴儒盛世天尊玉几下 大成殿

文昌:谈经演教消劫行化更生永命天尊圣前 玉真庆宫

关帝:敕封三界伏魔大帝忠义神武关圣帝君神威远镇天尊 圣前 丹天伏魔宫

五祖七真:邱祖 紫府清和宫 郝祖 广宁宫其馀皆用 蓬莱宫

黄石公:玉京开化真君 金华洞天

留候:校经主宰天枢上相法主道君天尊 天枢院

药王:九天采访三界药王天医大圣开元普度天尊 圣前 药王妙济宫 天医采访院

九天采访使:高上景霄九天采访使者应元保运妙化天尊 九天保运宫

六波:高上紫霄六波天主帝君普施法润天尊御前 六波天主宫

子牙:太公宠元广庆天尊 圣前 霄难宫

太白:太白太素小阳白皇上真帝君 圣下太白太素宫

水神:水府扶桑丹霞大帝 扶桑宫

龙王:天衣玄皇辰极灵威壬癸龙王伺辰真君甘露流润天尊 圣前 天一紫皇宫 水晶宫

杨四将军:九水天灵大元帅紫云统法真君水国镇龙安渊王 灵源通济天尊圣前 紫云台上

金龙大王:敕封洞庭郡主金龙大王柳真君 宫下 洞庭郡主宫

靖江大王:敕封水府丁三舍人龙虎将军靖江大王圣前 靖江大王府

萧公:九天涵泻大司马天泗皇君泛航海济真人圣前 水府天泗宫

宴公:海源主宰宴公丈人持衡稳天尊 圣前 奠安御宇府

李公:灵源主宰李公神师观风镇浪靖海真君圣前 平波府

氲神:天府宪府统瘟都天都总管金容大帝麾下 都天宪府

虫蝗:万灵法主治化生民驱灭螟蝗主宰十方八腊护国彰灵王 圣前 罗天八腊殿

山神:敕封护国佑民猛烈将军威灵感应普德天尊麾下猛烈帅府

财神:正一福禄财神真君 位前 福禄宫

仓神:岁洽丰粮天尊 位前 乌丰稔浩宫

马王:青城柏山马王尊神 马司宫

牛王:青城桐山牛王尊神 牛司宫

圣母:三仙圣母碧霞元君 懿前 天妃宫

又:三仙送子娘娘慈懿育慧元君 座下 太乙广生宫

又:多儿多女九天卫房圣母元君 懿前 圣女逍遥宫

张仙:抱阳辅阴张大仙 育婴宫

土地:中央镇位真官土地大道神 位前戊已宫 福德宫

灶君:九天东厨司命太乙元皇定福奏善天尊位前 奏善宫

文佛:通天彻地中天教主释迦牟尼文佛灵鹫宝山

观音:广大灵感观世音真人圆通自在天尊莲座下 落迦山

九幽:圣师慈悲教主九幽拔罪天尊御前 九德靖幽宫

城隍:辅德大王威灵感应天尊 圣前 福德殿威灵宫

酆都:北阴酆都天子地府玄卿大帝 北阴酆都宫

鬼王:幽冥教主冥司面然之鬼王由孑大帝麾下 由孑宫

十王:冥京十王慈仁真君金定玄通天尊案下冥京十王宫

一殿秦广大王泰素妙广真君 金案下 玄明宫

二殿楚江大王阴德定体真君 金案下 普明宫

三殿宋帝大王洞明善静真君 金案下 纣绝宫

四殿五官大王玄德灵真真君 金案下 太和宫

五殿阎罗天子最胜耀灵真君 金案下 纣伦宫

六殿卞成大王宝肃昭成真君 金案下 明辰宫

七殿泰山大王神变万灵真君 金案下 神化宫

八殿平等大王无上证度真君 金案下 七非宫

九殿都市大王飞魔演庆真君 金案下 碧真宫

十殿转轮大王武化威灵真君 金案下 肃英宫

二十四分位宫阙:

九霄神霄宫 九气天宫 东华上相宫

七政星宫 灵宝五师宫 九天司命宫

上清真境宫 度人注生宫 三元妙纬宫

诸天琼阙宫 天曹景命宫 北极紫微宫

天景上圣宫 三界总圣宫 经箓众真宫

水府扶桑宫 岳帝蓬玄宫 冥京十王宫

绝阴天宫 香火琳宫 阳界祀典宫

都天大雷宫 家堂福德宫 威灵宝殿三界通神宫