วันอังคารที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

เทพประตูชาวดัทช์








รูปเทพเจ้าประตูที่เห็นเป็นฝรั่งสองคนนี้ อยู่ที่เมืองไท่หนาน ไต้หวันครับ ศาลเจ้านี้มีชื่อว่า 鹿耳門鎮門宮

รูปเทพเจ้าเฝ้าประตูชาวดัทช์นี้ วาดขึ้นเมื่อสามร้อยปีมาแล้วครับ หลังจากที่เจิ้งเฉิงกง 鄭成功 หรือ ก็อกแซ่เอี๊ย 國姓爺 ได้ทำสงครามขับไล่ชาวดัทช์ออกจากเกาะไต้หวัน แล้วก็ได้ให้ช่างวาดเทพเจ้าสององค์นี้ไว้ที่ศาลเจ้าแห่งนี้

จะเห็นว่าเจ้าสององค์นี้ไม่มีรองเท้าใส่ครับ เพราะเป็นฝรั่งทำให้ไม่สามารถหาขนาดรองเท้าที่ชาวจีนใส่ๆกันได้ (จริงๆนะ) ก็เลยวาดเท้าเปล่าซะเลย เล่ากันว่าในช่วงปี ค.ศ.1950-1960 เทพเจ้าฝรั่งสององค์นี้มาเข้าฝันชาวบ้านแถบนั้นให้ช่วยหารองเท้าให้หน่อย เพราะทรมาณเหลือเกินกับที่ต้องไปไหนมาไหนเท้าเปล่า ความเจริญก็เข้ามาเรื่อยๆ เดินเท้าเปล่ามีแต่เชื้อโรค ดีไม่ดี เดี๋ยวเจอหวัดนกเอย พยาธิเอย มาเข้าฝันขอรองเท้าดีกว่า

ตั้งแต่นั้นมาชาวบ้านก็มีงานเฉลิมฉลองในการหาขนาดรองเท้าให้เทพเจ้าสององค์นี้ทุกปีครับ และในปี ค.ศ. 2008 ชาวเมืองไท่หนาน ก็จัดงานรับเทพเจ้าสององค์นี้เป็นประชาชนเมืองไท่หนานอย่างเป็นทางการ และให้ชื่อว่า 耳順 และ 鹿風 ครับ



ใครไปเที่ยววัดนี้ก็คงจะทราบความเป็นมาแล้วนะครับ ส่วนเทพเจ้าสไปเดอร์แมนเฝ้าประตูนั้น เอามาให้ดูแบบขำๆครับ 

สวัสดีครับ

วันเสาร์ที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

การใช้สีเสื้อคลุมกิมสิ้น (神像神袍顏色簡介)

土地公 - ในเสื้อคลุมสีน้ำเงิน (ภาพจาก http://www.taiwantoday.tw )


ปัจจุบันมีกิมสิ้นวางจำหน่ายในท้องตลาดเยอะมากนะครับ หลังจากที่มีกิมสิ้นแล้ว ส่วนใหญ่ก็มักจะมีชุดหรือเสื้อคลุมให้กับกิมสิ้นของตัวเองที่นับถือ คำถามที่ผมจะโดนถามบ่อยๆคือ "จะต้องใช้ชุดสีอะไร" ให้กับกิมสิ้นของเรา

สำหรับระบบเทพเจ้าในศาสนาเต๋านั้น จะมีการระบุตำแหน่งลำดับขั้นอย่างชัดเจนครับ การจะใช้สีอะไรนั้นต้องให้ถูกต้องตามลำดับขั้นของเทพเจ้าองค์นั้นๆครับ ผมมีคำแนะนำดังนี้ครับ

1. หยกหองไต่เทียนจุน หรือ หยกหองซ่งเต่ (玉皇大天尊) - ใช้สีเหลือง หรือ สีม่วง ลายมังกร
2. อ๋องโบ้เหนียวเหนียว (王母娘娘) – ใช้สีเหลือง หรือ สีม่วง ลายมังกร หรือลายนกฟินิกซ์
3. อ๋องเอี๋ย หรือ เชียนโส่ย (王爺與千歲) – ใช้สีส้ม ลายธรรมดาทั่วไป
4. กวนกง หรือ กวนอู (關公) – ใช้สีส้ม, สีแดง หรือสีเขียว ลายมังกร
5. ปุนเถ่ากง หรือฮกเต็กเจี้ยสิน ถือไม้เท้าแบบธรรมดา(木手杖福德正神) – ใช้สีแดง หรือสีน้ำเงิน
6. ปุนเถ่ากง หรือฮกเต็กเจี้ยสิน ถือไม้เท้าหัวมังกร (龍頭手杖福德正神) – ใช้สีแดงหรือสีส้ม
7. ถ่อเต่กง และ ถ่อเต่โป๋ (土地公與土地婆) – ใช้สีน้ำเงิน หรือสีน้ำตาล
8. ม้าจ้อโป๋ (媽祖) – ใช้สีชมพู, สีส้ม หรือสีน้ำเงิน ลายมังกรหรือลายนกฟินิกซ์
9. เสี่ยหอง (城隍) – สีส้มหรือสีแดง ลายทั่วไป
10. จ่ายสิ๋น (財神) - สีส้มหรือสีแดง ลายทั่วไป
11. เตียวเทียนซือ (張天師) – สีส้มหรือสีม่วง ลายทั่วไป หรือลายยันต์แปดเหลี่ยม
12. ก่ำเที้ยนไต่เต่ (許天師或感天大帝) – สีส้มหรือสีแดง ลายทั่วไป หรือลายยันต์แปดเหลี่ยม
13. เหี่ยนเที้ยนซ่งเต่ (玄天上帝) – ใช้สีดำหรือสีน้ำเงินเข้ม ลายมังกร
14. หง่วนโส่ย หรือ สิ๋นเจี่ยง (元帥與神將) – การใช้สีอะไรนั้นให้ขึ้นกับธาตุ หรือทิศ ของเทพนั้นๆไป ถ้าไม่แน่ใจก็ใช้สีแดงครับ

วันพุธที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2555

เทพเจ้าประจำแซ่ต่างๆ 各家姓氏崇祀祖佛


ข้อมูลนี้ได้เขียนแนะนำการกราบไหว้เทพเจ้าประจำตระกูลของแซ่ต่างๆไว้นะครับ อย่างไรก็ตามบางพื้นที่ บางตระกูลก็อาจจะมีความเชื่อที่แตกต่างกันไปนะครับ

各家姓氏崇祀祖佛
陳姓—開漳聖王-陳元光. 唐忠順王-陳邕
謝姓—廣惠聖王-謝安. 謝府元帥-謝玄
林姓—文財神-比干. 天上聖母-林默娘. 敵天大帝-林放
王姓—唐廣武王-王審潮. 武肅王-王審邽. 忠懿王-王審知
張姓—保儀尊王-張巡
郭姓—唐汾陽忠武王-郭子儀. 廣澤尊王-郭忠福
許姓—保儀大夫-許遠
蕭姓—蕭府太傅-蕭望之. 蕭府千歲-蕭何
丁姓—丁府八千歲-丁啟濬
徐姓—徐府千歲-徐懋功
吳姓—保生大帝-吳夲
楊姓—楊府元帥-楊延昭. 大德禪師-楊五郎
沈姓—武德尊侯-沈彪
蔡姓—蔡府千歲-蔡襄
岳姓—精忠武穆王-岳飛
李姓—太上老君-李耳
孔姓—至聖先師-孔丘
鄭姓—明延平郡王-鄭成功
施姓—清靖海侯-施琅
包姓—閻羅天子-包青天
趙姓—趙府元帥-趙子龍
薛姓—薛府千歲-薛仁貴
蘇姓—蘇府千歲-蘇東波

林姓--晉安郡王(林牧公)
劉姓--中山靖王(劉勝)
巫姓--巫府千歲
曾姓--宗聖公(曾參)
張姓--文昌帝君(張亞子)
黃姓--東嶽大帝(黃飛虎)、助順將軍(黃道周)
何姓--安撫尊王(何嗣韓)
李姓--太上道祖(李耳)、托塔天王(李靖)、中壇元帥(李哪吒)
許姓--昭應侯(許天正)、感天大帝(許遜)
孫姓--孫真人(孫思邈)
駱姓--駱府千歲
童姓--童瀨將軍(董仲穎)董童聯宗

台北金山-許姓 --唐宣威將軍-許天正
芳苑王功-林姓 --宋同安理學家-林希元
北港-柯蔡兩姓 --端明殿大學士-柯氏忠烈公 蔡氏忠惠公
屏東大埔.高雄茄萣.台南喜樹-郭姓 --三聖祖佛-老先生-陳姓 十二始祖-郭淑 三元真君-洪熹
義竹-翁姓 --安溪董公真人

大使公(王孫大使)-陳井陳姓(廈門灌縣)
-嘉義鹿草圓山宮、雲林東勢南天宮、彰化二林圓和宮
康濟明王(王審知)-蓮溪葉氏(廈門蓮阪)
東峰大帝(江萬里)-鹿陶洋江姓
里主尊王(施全)-鹿草施姓(今華封堂)
代天金帝 --太保水虞厝葉氏(葉祖厝)開基祖(葉覲美)

雲林斗南-李姓 --輔信王公-李百苗(為隴西宮,又名李祖廟)

彰化田中-謝姓 --謝安王爺、謝玄元帥(為寶樹宮,原名謝氏家廟)

彰化鹿港北頭-郭姓 --唐忠武王-郭子儀、廣澤尊王-郭忠福(為保安宮)
台南西港大竹林大塭寮-郭姓 --唐忠武王-郭子儀、廣澤尊王-郭忠福(為汾陽殿)

雲林台西-丁姓 --丁府八千歲-丁啟濬(為萬厝濟陽府,當地丁姓人家稱其為叔王)

source: http://tw.myblog.yahoo.com/jw!f3UkS_OQHw8etVHZI2xhF8k-/article?mid=6015&prev=6453&next=4564&l=f&fid=102

วันอังคารที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2555

通书 - ถองสู้ ปฏิทินโหราศาสตร์จีน



สิ่งที่ผมมักจะได้ยินอยู่เสมอเวลาไปที่อ้าม(ศาลเจ้า) เวลามีม้าทรงใหม่ๆ ลงพระใหม่ๆ แล้วคนในศาลเจ้ามักจะพูดว่า "เปิดถองสู้ดูซิ ว่าพระนี้มีหรือเปล่า" หรือ "เปิดถองสู้ดูซิว่าประวัติพระนี่เป็นอย่างไร"

ผมก็อยากจะบอกโกๆ แปะๆ ในอ้ามนะครับว่า ถองสู้นี่มันไม่ใช่หนังสือประวัติเทพเจ้าจีนนะเออ ถองสู้ หรือ ถองซู ในภาษาจีนกลาง (通书 พินอิน tōng shū หมิ่นหนาน thong-su) นี่นะคือปฏิทินโหราศาสตร์นั้นเองครับ

ถองสู้ จะมีการพยากรณ์วันในปฏิทินจันทรคติของจีน ว่าเป็นวันดีหรือวันไม่ดี วันนี้ควรทำอะไร หรือไม่ควรทำอะไร ซึ่งคำแนะนำบางครั้งถ้าคนสมัยใหม่อ่านแล้วอาจจะดูว่าไม่มีเหตุผล ไม่เมคเซ็นส์ แต่ชาวจีนก็อาศัยถองสู้เป็นไกด์ไลน์ในการดำเนินชีวิตมาไม่น้อยกว่าสองพันปีมาแล้ว คำแนะนำในถองสู้นั้นสามารถนำมาใช้ง่ายๆในทุกๆวัน หรือ สามารถใช้พยากรณ์เหตุการณ์ หรือหาฤกษ์ยามในกรณีที่ซับซ้อนซ่อนเงื่อน ของบรรดาเหล่าซินแซทั้งหลายอีกด้วยครับ

ปัจจุบันถองสู้มีพิมพ์กันหลายเวอร์ชั่น หลายรูปแบบ แต่ที่หลักๆนั้นก็จะแสดง วันตามจันทรคติ พร้อมคำพยากรณ์ในวันนั้นสั้นๆ, เลขศาสตร์, รอบการพยากรณ์, เทศกาลต่างๆที่ตรงกับวันที่แสดง, สิ่งที่ควรทำ, สิ่งที่ไม่ควรทำ, ทิศที่ดีและไม่ดี และอื่นๆอีกมากครับ

ผมคิดว่าหลายบ้านก็มีถองสู้อยู่ในบ้านครับ ที่พบมากในบ้านเรา ผมเห็นเป็นของสำนักน่ำเอี้ยงครับ ผมว่าของแกครองตลาดอยู่เป็นเจ้าใหญ่เลยละ เดี๋ยวนี้สามารถดูถองสู้ออนไลน์ได้ ตามยุคดิจิตอลและยุคหวัดสองพันเก้า ลองเข้าเวบนี้ดูครับ ถองสู้ดอทคอม ฮ่าๆ http://www.tongshu.com/

หมายเหตุ: บทความเก่า เขียนเมื่อ Sep 27, '09 3:20 PM