วันเสาร์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2553

เรื่องของเต้าเตง (道教斗燈/斗首之簡介)



วันนี้จะมาแนะนำเรื่อง เต้าเตง(斗燈) หรือ เต้าชิ้ว(斗首) ครับ เพราะปัจจุบันมีคนรู้เรื่องนี้น้อยและส่วนใหญ่จะไม่เข้าใจถึงจุดประสงค์ในการจุดเต้าเตง

ในการประกอบพิธีกรรมของเต๋านั้น ปกติแล้วเต้าเตงจะถูกปลุกเสกและจุดขึ้นในระหว่างพิธีกรรมการบูชาเต้าโบ้หง่วนกุน (斗母元君)และเทพเจ้าดาวเหนือทั้งเก้าหรือปักเต้ากิ้วหองซู่ฮกแชกุน (北斗九皇賜福星君) จุดประสงค์ในการปลุกเสกและจุดตะเกียงนั้น เพื่อเป็นการอธิฐานในการขับไล่สิ่งชั่วร้าย และบาปต่างๆ (消災解厄) อีกทั้งยังเป็นการขอพรให้บุพการีมีอายุยืนยาวอีกด้วย (延生長壽)

นอกจากเต้าเตงจะถูกใช้ในพิธีข้างต้นแล้ว ปัจจุบันมีพิธีกรรมต่างๆ ที่มักจะมีการจุดเต้าเต่งเพิ่มเติมดังนี้คือ พิธีขอพรในวันขึ้นปีใหม่จีน (新春祈福禮斗), พิธีขอพรในเรื่องของการศึกษาเล่าเรียนหรือการสอบแข่งขัน (文昌長智禮斗), พิธีขอพรในเรื่องการค้า (生意通順禮斗) และพิธีตามความเชื่ออื่นๆ

ในการปลุกเสกหรือการจุดเต้าเตงนั้น จะต้องกระทำโดยผู้ที่ได้รับการฝึกมาครับ หรือต้องเป็นนักพรตเต๋า ก่อนที่จะทำการปลุกเสกหรือจุดตะเกียงนั้น นักพรตจะต้องมีการรายงานบอกกล่าวชื่อ วันเกิด ที่อยู่ ของผู้เป็นเจ้าของเต้าเต่งต่อเทพเจ้า เพื่อเทพเจ้าจะได้รับรู้และมาร่วมประกอบพิธีครับ ดังนั้นข้อมูลเหล่านี้จะต้องเตรียมไว้ในนักพรตเต๋าครับ

เมื่อถึงวันที่เป็นมงคลแล้ว นักพรตเต๋าจะใช้เวลาประมาณครึ่งชั่วโมงประกอบพิธีที่เรียกว่า คายเต้า (開斗科儀) ซึ่งพิธีนี้นักพรตเต๋าจะทำการอัญเชิญเทพเจ้าที่เกี่ยวข้องมาร่วมประกอบพิธีและอ่านรายงานครับ ปัจจุบันจะไม่ค่อยพบการประกอบพิธีคายเต้านี้ครับ อาจเป็นเพราะมีนักพรตที่ได้รับการฝึกประกอบพิธีนี้มีน้อย หรือมีการบิดเบือนจนหายสาบสูญไป ก็เป็นไปได้ครับ...น่าเสียดายอย่างยิ่ง

ในการประกอบพิธรกรรมนั้น จะมีสิ่งของหลายอย่างที่จะต้องใช้ใส่ในเต้าเตง ซึ่งทั้งหมดจะต้องได้รับการปลุกเสกก่อนทั้้งสิ้น ก่อนที่พิธีกรรมนี้จะเสร็จสิ้น นักพรตเต๋าจะทำการอัญเชิญสิ่งของสุดท้ายนั้นคือ ไฟแห่งเทพ (丙丁火) เพื่อทำการจุดตะเกียงให้แสงสว่างและเพื่อขอให้อายุยืนยาว (光明延壽) ก็เป็นอันเสร็จพิธีกรรมนี้ครับ

สิ่งสำคัญคือเมื่อตะเกียงได้ถูกจุดขึ้นแล้วนั้น ต้องระวังไม่ให้ตะเกียงดับครับ และต้องดูแลเก็บเต้าเตงเป็นอย่างดีครับ

ขอบคุณภาพจาก 臺灣節慶之美 http://ttf.ncfta.gov.tw และ http://javewu.multiply.com

วันอาทิตย์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2553

ลี้ซานหลิ่มจุ้ยไท่โปเสี่ยหยินต่งจื้อ - 閭山臨水太保舍人童子


มีคนจำนวนไม่น้อยที่มีความสงสัยครับว่า ไท่โปเสี่ยหยิน (太保舍人) นี่มีความเป็นมาอย่างไร และทำไมถึงมีการบูชาเทพเจ้าองค์นี้ โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และทางภาคใต้ของจีน


จริงๆแล้วนั้น ความเชื่อทางศาศนาเต๋าโดยเฉพาะทางนิกายใต้ (Southern Taoism) ถ้าพูดถึง ไท่โปเสี่ยหยิน จะหมายถึงกลุ่มเทพสองกลุ่มครับ คือ แชเหลงเส้งอ๋องไท่โปเสี่ยหยิน (青龍聖王太保舍人) ซึ่งก็คือลูกชายสองคนของเทพเจ้ามังกรเขียว หรือ แชเหลงเส้งอ๋อง (青龍聖王) ซึ่งมีที่มาและการนับถืออยู่บริเวณเมืองแต้จิ่วนั้นเองครับ (中國潮州)


ส่วนเทพเจ้าอีกหนึ่งกลุ่มจะเรียกว่า หลิ่มจุ้ยไท่โปเสี่ยหยิน (臨水太保舍人) ซึ่งกลุ่มนี้จะมีความสำคัญกับนักบวชเต๋านิกายลี้ซาน (道教閭山科儀) และจะมีการเชิญเทพกลุ่มนี้มาในการประกอบพิธีกรรมต่างๆ และเทพเจ้ากลุ่มนี้จะเป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดี ในบริเวณเมืองฮกจิว (中國福州) และไต้หวันครับ (台灣) และผมจะเล่าความเป็นมาของเทพกลุ่มนี้นะครับ ซึ่งเป็นลูกชายและลูกบุญธรรมของหลิ่มจุ้ยฮูหยินตันจิ่งโกว (臨水夫人陳靖姑)


ในปี ค.ศ.929 ตรงกับสมัยราชวงศ์ถัง (唐朝永和二年) ในวันที่เก้าเดือนห้าจีน (農曆五月初九日) ท่านตันจิ่งโกวได้ตั้งครรภ์บุตรชาย ในวันที่ทราบว่าได้ตั้งครรภ์นั้นเอง อาจารย์ของท่านคือ ท่านค้อจินหยินเทียนซือ (許遜天師) ได้สั่งห้ามมิให้ท่านตันจิ่งโกวเข้าร่วมหรือทำพิธีกรรมใดๆ หรือแสดงอิทธิฤทธิ์ในขณะที่กำลังตั้งครรภ์อยู่

ต่อมาในวันที่สิบสามเดือนแปดในปีเดียวกัน ท่านตันจิ่งโกวได้ทราบข่าวจากเพื่อนนักพรตเต๋าว่าได้มีปีศาจออกอาละวาดปล่อยไอปีศาจอยู่บริเวณแม่น้ำแปะเหลง (白龍江) ซึ่งปัจจุบันอยู่ในมณฑลก่านซู (位於中國甘肅省) จนชาวบ้านได้รับเดือดร้อนกันทั่ว หลังจากทราบข่าว ท่านตันจิ่งโกวได้รีบรุดไปยังแม่น้ำแปะเหลงทันทีทั้งทีตัวเองยังตั้งครรภ์อยู่

ในวันที่สิบห้าเดือดแปด ท่านได้มาถึงที่แม่น้ำแปะเหลงและรู้ได้ด้วยอำนาจวิเศษว่าปีศาจกำลังปล่อยไอปีศาจอยู่ที่ก้นแม่น้ำ ท่านจึงใช้ฤทธิ์วิเศษดำลงไปที่ก้นแม่น้ำเพื่อจะกำราบมัน ในขณะที่ท่านกำลังดำลงไปอยู่นั้น ท่านได้รู้สึกถึงกระแสน้ำที่กระทบกับท้องของท่าน ทำให้ท่านนึกขึ้นได้ว่าตัวเองตั้งครรภ์อยู่และท่านอาจารย์ค้อจินหยินก็สั่งห้ามมิให้แสดงอิทธิฤทธิ์ใดๆในช่วงนี้

แต่ด้วยความเมตตาต่อผู้คนที่ทนทุกข์ทรมาณจากไอปีศาจ ท่านก็จำใจต้องฝืนคำเตือนของอาจารย์ดำลงในน้ำต่อไปเพื่อปราบปีศาจ พร้อมทั้งกล่าวขอโทษลูกชายซึ่งอยู่ในครรภ์ของท่าน เมื่อท่านดำดิ่งลงมาถึงหน้าถ้ำใต้น้ำของปีศาจ ท่านก็ได้เสกกระบี่วิเศษเจ็ดดาว (七星劍) ทำการเข้าต่อสู้กับปีศาจอย่างเต็มสามารถ

ทันใดนั้นเอง ได้เกิดคลื่นยักษ์บนผิวแม่น้ำได้ได้คร่าชีวิตผู้คนที่อยู่บริเวณริมฝั่งตายไปเป็นอันมาก ท่านตันจิ่งโกวจึงได้เสกยันต์วิเศษเข้าสะกดปีศาจมังกรตนนี้ ปีศาจมังกรได้พ่ายแพ้ต่ออิทธิฤทธิ์ของตันจิ่งโกวและได้กลายร่างเดิมเป็นงูขาว (白蛇) แต่ในขณะที่ก่อนเจ้าปีศาจจะกลายร่างเดิม มันได้พ่นพิษเข้าใส่ท่านตันจิ่งโกว จนท่านหมดสติไป

เมื่อท่านตันจิ่งโกวฟื้นคืนสติมา ท่านพบว่าตัวเองตัวท่านอยู่ที่ เทียนกีฮู้ (金闕天機府 - เป็นสถานที่ที่เทียนซือ ปฏิบัติภาระกิจประจำวัน) โดยมีอาจารย์ค้อจินหยินเทียนซืออยู่ข้างๆ ท่านค้อเทียนซือได้กล่าวว่า ท่านตันจิ่งโกวนั้นได้สำเร็จบรรลุมรรคผลเป็นเทพในตอนที่ถูกปีศาจมังกรพ่นพิษใส่จนเสียชีวิตนั้นเอง และท่านค้อเทียนซือได้นำวิญญาณ (元神 - หง่วนสิน) มายังโลกสวรรค์แห่งนี้ อีกทั้งอาจารย์ยังบอกด้วยว่า ท่านตันจิ่งโกวนั้นได้แท้งลูกในขณะต่อสู้อีกด้วย ท่านตันจิ่งโกวรู้สึกว่าตัวเองผิดและไม่ได้ดูแลลูกที่ยังไม่ได้คลอดจนต้องมาสังเวชชีวิตลง

ท่านค้อเทียนซือเห็นท่านตันจิ่งโกวเสียใจ จึงได้กล่าวว่า ในอีกแปดปีข้างหน้า ตันจิ่งโกวจะได้พบลูกชายอีกครั้งในเมืองห้องโต (酆都城) เพราะหลังจากที่ตันจิ่งโกวแท้งบุตรชาย ท่านค้อเทียนซือได้นำวิญญาณของเด็กชายนั้นไปไว้ที่เมืองห้องโตโดยให้ไปเกิดในครอบครัวของข้าราชการแซ่เปาและแซ่แปะ (包白雙判官) ท่านตันจิ่งโกวรู้สึกดีใจและสำนึกในพระคุณของอาจารย์ค้อเทียนซือเป็นอย่างมาก และได้ตั้งใจบำเพ็ญเพียร พร้อมกันนี้ท่านได้ทำหน้าที่ในการคุ้มครองผู้หญิงที่กำลังตั้งครรภ์และลูกในครรภ์ จากอันตรายต่างๆ, พลังที่ชั่วร้าย และจากปีศาจต่างๆ (發願為護童監生) อย่างเต็มความสามารถและเมตตา

ในปี ค.ศ.936 วันที่สิบห้าเดือนเจ็ดจีน ซึ่งครบกำหนดแปดปี ท่านตันจิ่งโกวได้เดินทางไปยังเมืองห้องโต จนถึงวันที่สิบห้าเดือนแปดท่านก็ได้เดินทางถึงเมืองห้องโตและได้พบกับเด็กชายคนหนึ่ง ท่านเข้าใจว่าเด็กชายคนนี้ต้องเป็นบุตรชายของท่านกลับมาเกิดแน่ๆ ท่านจึงเดินเข้าไปเพื่อทำการไต่ถาม  แต่มิทันที่ท่านจะเอ๋ยคำพูดขึ้น เด็กชายนั้นก็ได้กล่าวขึ้นว่า “ท่านคือ ตันจิ่งโกว และเข้าเมืองห้องโตมาเพื่อตามหาลูกชายของท่าน” ตันจิ่งโกวรู้สึกทึ่งและประหลาดใจในตัวเด็กชายมาก เด็กชายได้แนะนำตนเองว่า ชื่อ เปาต้าเที๊ยะ (包打聽) เป็นบุตรบุญธรรมของท่านเจ้าหน้าที่เปา (包判官)  ตันจิ่งโกวจึงอุ้มเด็กชายขึ้นและได้ให้นำทางเพื่อตามหาบุตรชายของตน

เนื่องจากพ่อแม่ของเปาต้าเที๊ยะเสียชีวิตตั้งแต่เขายังเล็กมาก ทำให้ไม่ได้รับความรักจากแม่ ในขณะที่ตันจิ่งโกวอุ้มนั้น ทำให้เปาต้าเที๊ยะรู้สึกถึงความรักความอบอุ่นจากแม่ และคิดในใจว่าเราอยากจะมีแม่ที่อบอุ่มเหมือนตันจิ่งโกว ในขณะเดียวกันด้วยญาณอันวิเศษ ตันจิ่งโกวก็สามารถรับรู้ความปราถนาในใจของเด็กชายน้อยและได้มองตาเด็กชายน้อยพร้อมกับพยักหน้าเป็นเชิงตอบรับ และยิ้มให้อย่างอบอุ่น

เมื่อทั้งสองมาถึงหน้าที่ทำการเจ้าหน้าเปา ได้เห็นเด็กชายสองคนกำลังทะเลาะกันอยู่บนถนน เปาต้าเที๊ยะได้ตะโกนให้เด็กชายที่สวมชุดสีขาวหยุดต่อยตี และได้เรียกเด็กชายอีกคนที่ใส่ชุดอย่างคุณชายเพื่อเข้ามาหาพบแม่ เมื่อตันจิ้งโกวได้ยินเช่นนั้นก็ ตกใจยืนแน่นิ่งอยู่ตรงนั้น ตรงหน้าเด็กชายที่สวมใส่ชุดอย่างคุณชายนั้นเอง

หลังจากที่นิ่งไปครู่หนึ่ง เปาต้าเที๊ยะก็พยักหน้าเป็นสัญญาณให้ตันจิ้งโกวทราบว่า เด็กผู้ชายคนนั้นแหละคือลูกของท่าน น้ำตาของท่านตันจิ้งโกวก็หลั่งออกมาด้วยความดีใจ พร้อมกันนั้นเด็กชายในชุดคุณชาย ก็วิ่งเข้าโผกอดและเรียกตัยจิ้งโกวว่าแม่ ทั้งสองแม่ลูกกอดกันด้วยความตื้นตันใจ หลังจากที่พลัดพรากจากกันถึงแปดปีเต็ม

ขณะที่สองแม่ลูกกำลังชื่นชมกันอยู่นั้น เจ้าหน้าที่เปา และเจ้าหน้าที่แปะก็ได้มาถึงที่ตรงนั้นพอดี และได้บอกแก่ตันจิ่งโกวว่า เด็กชายลูกของท่านชื่อว่า เลาฉอง (劉聰) โดยค้อจินหยินนำมาให้เราสองคนเลี้ยงดูเป็นอย่างดีเมื่อแปดปีที่แล้ว ตันจิ้งโกวกล่าวขอบคุณคนทั้งสอง

ในขณะที่ตันจิ้งโกวและเจ้าหน้าที่ทั้งสองสนทนาอยู่นั้น เปาต้าเที๊ยะและเด็กชายในชุดสีขาว ชื่อว่า แปะก้ามเส้ง(白感生) ซึ่งเป็นบุตรบุุญธรรมของเจ้าหน้าที่แปะ(白判官) ก็ได้สะอึกสะอื้นเมื่อได้ยินผู้ใหญ่ทั้งสามกล่าวถึงอดีตของเด็กทั้งสอง

แปะก้ามเส้ง บุตรของคู่รักแห่งเมืองฮกจิว (福州市)

วันหนึ่งขณะที่บิดาของแปะก้ามเส้งออกไปทำไร่ตามปกติ ก็ได้ถูกงูพิษกัดตาย เมื่อมารดาของแปะก้ามเส้งรู้ข่าว ก็เสียใจเป็นอันมากและได้กระโดดน้ำฆ่าตัวตายตามสามีไป ทำให้แปะก้ามเส้งต้องกำพร้าพ่อและแม่

เมื่อแปะก้ามเส้งอายุได้ห้าขวบ เกิดภัยแล้งอย่างหนักจนผู้คนล้มตาย ส่วนที่มีชีวิตอยู่ก็อพยพไปตั้งถิ่นฐานใหม่จนหมดสิ้น แปะก้านเส้งต้องกระเสือกกระสนดิ้นรนหาอาหารมาประทังชีวิตอย่างยากลำบาก วันหนึ่งแปะก้านเส้งเห็นสุนัขกำลังแทะกระดูกจึงได้เข้าแย่งชิงมาเพื่อจะหาเศษเนื้อที่พอติดกระดูกอยู่บ้าง เมื่อได้กระดูกมา ด้วยความหิวโหยจึงรีบกัดกระดูกชิ้นนั้นจนทำให้กระดูกติดคอหายใจไม่ออก แปะก้านเส้งเสียชีวิตในทันที

วิญญาณของแปะก้านเส้ง (元神) ล่องลอยอยู่ ณ ที่แห่งนั้น และได้ถูกเจ้าหน้าที่แปะนำวิญญาณกลับไปยังเมืองห้องโต ในขณะที่ท่านออกราชการและทำการตรวจตราภัยแล้ง ณ บ้านเกิดของแปะก้ามเส้ง เมื่อกลับไปยังเมืองห้องโต เจ้าหน้าที่แปะได้ปล่อยวิญญาณและให้คืนร่างเดิม เจ้าหน้าที่แปะมองดูร่างของแปะก้ามเส้งด้วยความสงสาร และได้รับไว้เป็นบุตรบุญธรรม พร้อมทั้งให้รอแม่บุญธรรมที่แท้จริงมารับไป ซึ่งก็คือ ท่านตันจิ้งโกวนั้นเอง

ท่านตันจิ้งโกวจึงได้รับเด็กทั้งสองเป็นบุตรบุญธรรมและได้นำทั้งสองกลับไปที่ลี้ซาน (閭山) เพื่อบำเพ็ญเต๋าด้วย ซึ่งก็ได้รับการอนุญาติจากเจ้าหน้าที่ทั้งสองเป็นอย่างดี

ก่อนที่ตันจิ้งโกวและเด็กชายทั้งสามจะออกเดินทางไปยังลี้ซาน ค้อเทียนซือก็ได้ปรากฎกายขึ้น ณ เมืองห้องโต และประกาศว่าได้มีโองการสวรรค์แต่งตั้งเจ้าหน้าที่เปาและเจ้าหน้าแปะทั้งสองคน ขึ้นเป็นหัวหน้าเจ้าหน้าที่บันทึกอักษร และให้ไปทำหน้าที่ช่วยตั้งงักไต่เต่ (東嶽大帝) ที่เขาไท่ซาน (泰山) ในการดูแลหีบวิญญาณด้วย (受生庫)

ส่วนตันจิ้งโกวนั้นได้รับการแต่งตั้งให้เป็น ผ้อฮั้วเผียกเห่ไท่โห่วโปต่งจูเส้งเซียวหุยกิ่วเส่หง่วนกุน(普化碧霞太后保童註生昭惠救世元君)

ลูกชายของตันจิ้งโกว เลาฉอง ได้รับการแต่งตั้งเป็น เหลงย่องไท่โปส่ำเสี่ยหยิน (靈勇太保三舍人)

ลูกบุญธรรมคนโต เปาต้าเที๊ยะ ได้รับการแต่งตั้งเป็น อิ้นหยองไท่โปเปาเสี่ยหยิน (引陽太保包舍人)

ลูกบุญธรรมคนที่สอง แปะก้านเส้ง ได้รับการแต่งตั้งเป็น ถ้องหมีไท่โปแปะเสี่ยหยิน (通冥太保白舍人)


เด็กชายทั้งสามคนได้รับมอบหน้าที่ในการช่วยเหลือตันจิ้งโกว ในการช่วยเหลือวิญญาณต่างๆ และปกป้องเด็กที่อยู่ในครรภ์ และทำหน้าที่ในการนำวิญญาณของเด็กที่เสียชีวิตในครรภ์ไปยังสวนดอกไม้ (花園) เพื่อรอการเกิดใหม่ต่อไป

หลังจากที่ได้ประกาศเสร็จสิ้นแล้ว ค้อจินหยินก็ได้นำตันจิ้งโกวและเด็กชายทั้งสามกลับไปยังเขาลี้ซาน

ปัจจุบันในเมืองฮกจิว (ฟูโจว ในสำเนียงจีนกลาง) ในมณฑลฮกเกี่ยน ยังมีการเล่าขานเรื่องราวนี้อยู่ โดยทุกๆปี เมื่อมีงานเฉลิมฉลอง คนที่นับถือศาสนาเต๋าได้พากันไปที่ศาลเจ้าของตันจิ้งโกวเพื่อทำการบูชาเทพเจ้าเด็กทั้งสามองค์นี้

สำหรับเปาต้าเที๊ยะ จะมีการเฉลิมฉลองกันในวันที่14 เดือน 5 จีน (農曆五月十四日)
สำหรับแปะก้านเส้ง จะมีการเฉลิมฉลองกันในวันที่13 เดือน3 จีน (農曆三月十三日)
ส่วนเลาฉอง จะมีการเฉลิมฉลองกันในวันที่ 9 เดือน5 จีน (農曆五月初九日- ซึ่งตรงกับวันที่ท่านตันจิ้งโกวตั้งครรภ์ครับ)

วันพฤหัสบดีที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2553

กิมกะสิน - 九天巡狩金甲神

jinjiashen-01

ในคติความเชื่อตามศาสนาเต๋านั้น กิมกะสิน หรือ ขุนพลสวรรค์เกราะทอง จะรู้จักกันในฐานะของขุนพลผู้พิทักษ์ของเทพเจ้าหยกหองไต่เทียนจุน (玉皇大天尊) หรือในฐานะของผู้ช่วยของส่ำเช้งนั้นเอง (三清道祖)

 ภาระกิจของเทพเจ้ากิมกังสินในคติความเชื่อศาสนาเต๋า
 
จากบันทึกที่ปรากฎในการทำพิธีกรรมทางเต๋านั้น กิมกังสิน คือหนึ่งในเทพเจ้าที่มีความสำคัญ และต้องทำการอัญเชิญมาสถิตย์ ก่อนจะเริ่มทำพิธีใดๆ โดยเทพเจ้ากิมกังสินจะได้รับการอัญเชิญมาเพื่อดูแลในเรื่องขอการแจ้งฎีกาหรือบอกล่าวให้โลกแห่งเทพได้รับรู้ โดยเฉพาะหยกหองไต่เทียนจุน หรือ ส่ำเช้งโตจ้อ และนอกจากนี้ กิมกังสินยังมีหน้าที่ในการประกาศราชโองการต่างๆจากหยกหองไต่เทียนจุน หรือ ส่ำเช้งโตจ้อให้โลกแห่งเทพและโลกมนุษย์ได้รับรู้อีกด้วย
บางครั้งเราจะเห็นกิมกังสินอยู่คู่กันกับ จูบุ๋นกง (朱文公) หรือ ขุนพลสวรรค์กังฮุยเจียด (江飛捷仙官)  เพราะเทพทั้งสามนี้มีหน้าที่ดูแลเรื่องงานเอกสารต่างๆโดยตรงครับ

ความเป็นมาของเทพเจ้ากิมกังสิน

ได้มีการบันทึกไว้ว่า กิมกังสินนั้นคือรูปแบบหนึ่งของพลังงานธาตุทองที่เกิดขึ้นในขณะที่เริ่มมีการแยกระหว่างโลกและสวรรค์เมื่อครั้งอดีตกาล และเมื่อมีการอุบัติขึ้นของกิมกังสินในตอนเริ่มแรกนั้น ท่านยังได้รับการแต่งตั้งบรรดาศักดิ์ในโลกของเทพเจ้าด้วย แต่ก็มีเรื่องเล่ากันว่า บรรดาศักดิ์ของท่านโดยถอดโดยไซอ๋องโบ้ (瑤池金母) และโดนให้ลงมาเกิดใหม่บนโลกมนุษย์ ด้วยเรื่องราวนี้ทำให้เชื่อกันว่านักบวชเต๋ามักจะไม่วางรูปเคารพของเทพเจ้าไซอ๋องโบ้ และกิมกังสินติดกันหรือใกล้กันครับ และชาวจีนก็ยังเชื่ออีกว่าแมลงเต่าทองคือร่างของกิมกังสินที่ลงมาเกิดในโลกมนุษย์ในตอนนั้นอีกด้วยครับ


กิมกังสินกับประวัติศาสตร์จีน

ได้ปรากฎร่องรอยของกิมกังสินในประวัติศาสตร์จีน มาตลอดตั้งแต่สมัยของอึ่งเต่ (黃帝), สมัยราชวงศ์ถัง, สมัยราชวงศ์ซ้อง, สมัยราชวงศ์หมิง หรือแม้นกระทั่งในสมัยราชวงศ์ชิงนี่เอง และที่เป็นเรื่องเล่ากันอย่างเพร่หลาย คือในสมัยหมิง หลังจากปฐมจักรพรรดิจูหยวนจาง (明太祖朱元璋) สถาปนาราชวงศ์หมิง จูหยวนจางก็ต้องการจะสร้างพระราชวัง และได้ให้ช่างทำการเขียนแบบราชวังใหม่ขึ้น แต่จนแล้วจนรอดแบบพระราชวังใหม่ก็ยังไม่เป็นที่ถูกใจของจูหยวนจางเลย คืนหนึ่งจูหยวนจางได้มองไปบนท้องฟ้าและเห็นดาวดวงหนึ่งประกายเป็นแสงสีทองอร่าม จูหยวนจางเลยอธิฐานให้ดาวประกายทองดวงนั้นช่วยท่านสร้างวังให้สำเร็จ

หลังคำอธิฐานได้ปรากฎมีลำแสงสีทองพุ่งลงมาจากท้องฟ้า ตกลงเบื้องหน้าของจูหยวนจาง และอันตรธานหายไป รุ่งขึ้นจูหยวนจางและอำมาตย์เล่าแปะอุ่น (劉伯溫) ได้ออกตรวจความพร้อมในการสร้างวัง เล่าแปะอุ่นได้มองเห็นเด็กหนุ่มคนหนึ่งกำลังก้มคำนวนด้วยลูกคิดอยู่ แต่เมื่อเล่าแปะอุ่นเดินเข้าไปใกล้ เด็กหนุ่มก็อันตรธานหายไปเหลือไว้แต่ลูกคิดวางอยู่ เมื่อเล่าแปะอุ่นก้มลงจะหยิบลูกคิดขึ้นมา ลูกคิดอันนั้นก็จมหายลงไปในดิน

คืนนั้นเองจูหยวนจางก็ฝันเห็นแบบของพระราชวังใหม่ และหลังจากที่ตื่นก็รีบให้ช่างวาดแบบตามที่ได้เห็นในฝัน และให้ใช้ในการก่อสร้าง หลังที่ได้ก่อสร้างพระราชวังตามแบบที่เห็นในฝันจนแล้วเสร็จ อำมาตย์เล่าแปะอุ่นก็ประหลาดใจมาก เพราะรูปร่างของพระราชวังนั้น เหมือนกับลูกคิดที่ตนเคยเห็นและจะก้มเก็บแต่จมลงไปในดินเสียแล้ว

เรื่องราวนี้ได้ถูกเล่าขานกัน และทำให้ชาวบ้านต่างเชื่อกันว่าพระราชวังของราชวงศ์หมิงนั้น ได้ถูกสร้างขึ้นโดยการช่วยเหลือของกิมกังสินนั้นเอง


การบูชากิมกังสิน

บันทึกกล่าวว่า วันขึ้น 2 ค่ำเดือน 8 ตามปฏิทินจีน (農曆八月初二日) คือวันเฉลิมฉลองวันเกิดของเทพเจ้ากิมกังสิน

กิมกังสินโปก่อ - 金甲神寶誥 (บทสวดสรรเสริญเทพกิมกังสิน)

九天巡狩金甲神寶誥
Jiu Tian Xun Shou Jin Jia Shen Bao Gao (Praise Mantra)


至心皈命禮。
Zhi Xin Gui Ming Li
九天金闕殿。玉皇御前將。
Jiu Tian Jin Que Dian. Yu Huang Yu Qian Jiang
青鋒常守駕。威猛滅穢氛。
Qing Feng Chang Shou Jia. Wei Meng Mie Hui Fen
聖旨傳達出天門。
Sheng Zhi Chuan Da Chu Tian Men
驅行麒麟步天下。
Qu Xing Qi Lin Bu Tian Xia
素面丹脣。金甲披身。
Su Mian Dan Chun. Jin Jia Pi Shen
珠冠瓊花。敕封大神。
Zhu Guan Qiong Hua. Che Feng Da Shen
凡有上奏書必達。
Fan You Zou Shu Bi Da
狀帖投進不移漏。
Zhuan Tie Tou Jin Bu Yi Lou
唐顯聖跡。太宗駕前。
Tang Xian Sheng Ji. Tai Zong Jia Qian
宋有記載。書於宮中。
Song You Ji Zai. Shu Yu Gong Zhong
明相伯溫。觀解事疑。
Ming Xiang Bo Wen. Guan Jie Shi Yi
至剛至勇。至仁至威。
Zhi Gang Zhi Yong. Zhi Ren Zhi Wei
九天巡狩傳達使。
Jiu Tian Xun Shou Chuan Da Shi
三界無拘金甲神。
San Jie Wu Ju Jin Jia Shen

อ้างอิง: http://javewu.multiply.com/photos/album/625/625

วันศุกร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2553

ออบิ่นซาม้า - 黑面三媽

c8 
ออบิ่นซาม้า (黑面三媽) หรือ เที้ยนซ่งเส้งโบ้ม้าจ้อ (天上聖母媽祖) หน้าดำนั้นเองครับ มีหลายคนสงสัยว่าทำไมม้าจ้อถึงหน้าดำ ทำให้เกิดความเข้าใจต่างๆกันไปมากมายครับ เช่น หน้าที่ดำนั้นเกิดจากควันธูปควันเทียนที่รมจนทำให้หน้าท่านดำ บ้างก็ว่าที่หน้าดำเพราะเกิดจากยางไม้ที่แกะกิมสิ้นไหลออกมา หรือบ้างก็ว่ากิมสิ้นตกลงไปในทะเลทำให้หน้าดำไปเลยก็มีครับ แต่จริงๆแล้วประวัติตำนานของ ออบิ่นซาม้า นั้นมีบันทึกและเชื่อกันมาแบบนี้ครับ

ปีหนึ่งในสมัยราชวงศ์หมิง ในขณะที่ม้าจ้อกำลังโปรดสัตว์ต่างๆตามปกติอยู่นั้น เชียนลี้ง้าน (千里眼) และซุนฮองหนี้ (順風耳) ได้แจ้งว่ามีหมอกดำปกคลุมเป็นที่ผิดสังเกตุ บริเวณเขาบู๊อีซาน (武夷山 - ปัจจุบันภูเขานี้มีชื่อเสียงเรื่องชาฮกเกี่ยนมาก) เมืองฮกเกี่ยน (中國福建省) ทันใดนั้นม้าจ้อและบริวารทั้งสองก็รีบตรงไปที่บู๊อีซานทันที


เมื่อถึงบริเวณภูเขา ม้าจ้อได้แปลงกายเป็นสาวชาวบ้านเพื่อสามารถเข้าไปตรวจสอบได้ใกล้ชิด และได้ใช้อิทธิฤทธิ์เรียกเทพเจ้าที่ (土地神) มาเพื่อไต่ถามถึงเหตุการณ์ดังกล่าว เทพเจ้าที่ได้กล่าวว่า ไม่กี่เดือนที่ผ่านมานี้ ได้มีพายุฟ้าคะนองและมีปีศาจซึ่งมีกายเป็นสีดำทะมึนพุ่งลงมาจากฟ้าเข้าไปอยู่ในถ้ำแห่งหนึ่งในภูเขาบู๊อีซาน และหลังจากนั้นก็เกิดหมอกควันสีดำผวยพุ่งออกมาปกคลุมท้องฟ้าทั้งภูเขาบู๊อีและเมืองฮกเกี่ยน ชาวบ้านที่มาทำไร่บริเวณภูเขาที่หายใจเอาควันสีดำเข้าไป ก็ทำให้ใบหน้าของพวกเขากลายเป็นสีดำสนิท จนชาวบ้านหวาดกลัวและไม่กล้าเข้ามาทำไร่ไถนาบริเวณภูเขาอีก จนทำให้เกิดความวุ่นวายและเดือนร้อนกันไปทั่ว

ม้าจ้อออกคำสั่งให้เชียนลี้ง้านและซุนฮองหนี้ เฝ้าคุ้มกันอยู่บนอากาศ ส่วนม้าจ้อก็เดินเท้าขึ้นภูเขาเพื่อจะล่อจับปีศาจ เพื่อมิให้ผิดสังเกตุ ม้าจ้อได้ใช้อิทธิฤทธิ์เสกหน้าตัวเองให้เป็นสีดำเพื่อให้ปีศาจไม่สงสัย เมื่อมาถึงปากถ้ำ ได้เกิดควันสีดำผวยพุ่งออกมาเพื่อเข้ามาทำร้ายม้าจ้อ ทันใดนั้นม้าจ้อได้กลับกลายเป็นร่างเดิมของท่าน และได้เข้าต่อสู้กับปีศาจควันดำนั้น แต่ด้วยอิทธิฤทธิ์เทพสวรรค์ของม้าจ้อ เจ้าปีศาจมิอาจที่จะเอาชนะได้ และกำลังจะหลบหนีเข้าไปในถ้ำ ขณะนั้นเองเชียนลี้ง้านและซุนฮองหนี้ก็เข้ามาช่วยม้าจ้อจับตัวปีศาจควันดำนั้นได้

หลังจากปีศาจควันดำโดนจับได้ ก็กลายร่างมาเป็นร่างเดิมของมัน ซึ่งก็คือปีศาจเต่าดำนั้นเอง และต่อมาปีศาจเต่าดำตนนี้ก็ขอติดตามม้าจ้อ ไปช่วยโปรดสัตว์โดยเฉพาะเวลาที่ม้าจ้อท่องเที่ยวไปในท้องมหาสมุทร ตั้งแต่นั้นมา

หลังจากที่เหตุการณ์ที่ม้าจ้อช่วยเหลือชาวบ้านด้วยการปราบปีศาจเต่าดำในครั้งนั้น ชาวบ้านได้เกิดศรัทธาและได้ทำรูปเคารพเป็นรูปม้าจ้อหน้าดำ และเหยีบอยู่บนเต่าดำ เพื่อสักการะบูชา และระลึกถึงบุญคุณของม้าจ้อตั้งแต่นั้นมา