วันเสาร์ที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

การใช้สีเสื้อคลุมกิมสิ้น (神像神袍顏色簡介)

土地公 - ในเสื้อคลุมสีน้ำเงิน (ภาพจาก http://www.taiwantoday.tw )


ปัจจุบันมีกิมสิ้นวางจำหน่ายในท้องตลาดเยอะมากนะครับ หลังจากที่มีกิมสิ้นแล้ว ส่วนใหญ่ก็มักจะมีชุดหรือเสื้อคลุมให้กับกิมสิ้นของตัวเองที่นับถือ คำถามที่ผมจะโดนถามบ่อยๆคือ "จะต้องใช้ชุดสีอะไร" ให้กับกิมสิ้นของเรา

สำหรับระบบเทพเจ้าในศาสนาเต๋านั้น จะมีการระบุตำแหน่งลำดับขั้นอย่างชัดเจนครับ การจะใช้สีอะไรนั้นต้องให้ถูกต้องตามลำดับขั้นของเทพเจ้าองค์นั้นๆครับ ผมมีคำแนะนำดังนี้ครับ

1. หยกหองไต่เทียนจุน หรือ หยกหองซ่งเต่ (玉皇大天尊) - ใช้สีเหลือง หรือ สีม่วง ลายมังกร
2. อ๋องโบ้เหนียวเหนียว (王母娘娘) – ใช้สีเหลือง หรือ สีม่วง ลายมังกร หรือลายนกฟินิกซ์
3. อ๋องเอี๋ย หรือ เชียนโส่ย (王爺與千歲) – ใช้สีส้ม ลายธรรมดาทั่วไป
4. กวนกง หรือ กวนอู (關公) – ใช้สีส้ม, สีแดง หรือสีเขียว ลายมังกร
5. ปุนเถ่ากง หรือฮกเต็กเจี้ยสิน ถือไม้เท้าแบบธรรมดา(木手杖福德正神) – ใช้สีแดง หรือสีน้ำเงิน
6. ปุนเถ่ากง หรือฮกเต็กเจี้ยสิน ถือไม้เท้าหัวมังกร (龍頭手杖福德正神) – ใช้สีแดงหรือสีส้ม
7. ถ่อเต่กง และ ถ่อเต่โป๋ (土地公與土地婆) – ใช้สีน้ำเงิน หรือสีน้ำตาล
8. ม้าจ้อโป๋ (媽祖) – ใช้สีชมพู, สีส้ม หรือสีน้ำเงิน ลายมังกรหรือลายนกฟินิกซ์
9. เสี่ยหอง (城隍) – สีส้มหรือสีแดง ลายทั่วไป
10. จ่ายสิ๋น (財神) - สีส้มหรือสีแดง ลายทั่วไป
11. เตียวเทียนซือ (張天師) – สีส้มหรือสีม่วง ลายทั่วไป หรือลายยันต์แปดเหลี่ยม
12. ก่ำเที้ยนไต่เต่ (許天師或感天大帝) – สีส้มหรือสีแดง ลายทั่วไป หรือลายยันต์แปดเหลี่ยม
13. เหี่ยนเที้ยนซ่งเต่ (玄天上帝) – ใช้สีดำหรือสีน้ำเงินเข้ม ลายมังกร
14. หง่วนโส่ย หรือ สิ๋นเจี่ยง (元帥與神將) – การใช้สีอะไรนั้นให้ขึ้นกับธาตุ หรือทิศ ของเทพนั้นๆไป ถ้าไม่แน่ใจก็ใช้สีแดงครับ

วันพุธที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2555

เทพเจ้าประจำแซ่ต่างๆ 各家姓氏崇祀祖佛


ข้อมูลนี้ได้เขียนแนะนำการกราบไหว้เทพเจ้าประจำตระกูลของแซ่ต่างๆไว้นะครับ อย่างไรก็ตามบางพื้นที่ บางตระกูลก็อาจจะมีความเชื่อที่แตกต่างกันไปนะครับ

各家姓氏崇祀祖佛
陳姓—開漳聖王-陳元光. 唐忠順王-陳邕
謝姓—廣惠聖王-謝安. 謝府元帥-謝玄
林姓—文財神-比干. 天上聖母-林默娘. 敵天大帝-林放
王姓—唐廣武王-王審潮. 武肅王-王審邽. 忠懿王-王審知
張姓—保儀尊王-張巡
郭姓—唐汾陽忠武王-郭子儀. 廣澤尊王-郭忠福
許姓—保儀大夫-許遠
蕭姓—蕭府太傅-蕭望之. 蕭府千歲-蕭何
丁姓—丁府八千歲-丁啟濬
徐姓—徐府千歲-徐懋功
吳姓—保生大帝-吳夲
楊姓—楊府元帥-楊延昭. 大德禪師-楊五郎
沈姓—武德尊侯-沈彪
蔡姓—蔡府千歲-蔡襄
岳姓—精忠武穆王-岳飛
李姓—太上老君-李耳
孔姓—至聖先師-孔丘
鄭姓—明延平郡王-鄭成功
施姓—清靖海侯-施琅
包姓—閻羅天子-包青天
趙姓—趙府元帥-趙子龍
薛姓—薛府千歲-薛仁貴
蘇姓—蘇府千歲-蘇東波

林姓--晉安郡王(林牧公)
劉姓--中山靖王(劉勝)
巫姓--巫府千歲
曾姓--宗聖公(曾參)
張姓--文昌帝君(張亞子)
黃姓--東嶽大帝(黃飛虎)、助順將軍(黃道周)
何姓--安撫尊王(何嗣韓)
李姓--太上道祖(李耳)、托塔天王(李靖)、中壇元帥(李哪吒)
許姓--昭應侯(許天正)、感天大帝(許遜)
孫姓--孫真人(孫思邈)
駱姓--駱府千歲
童姓--童瀨將軍(董仲穎)董童聯宗

台北金山-許姓 --唐宣威將軍-許天正
芳苑王功-林姓 --宋同安理學家-林希元
北港-柯蔡兩姓 --端明殿大學士-柯氏忠烈公 蔡氏忠惠公
屏東大埔.高雄茄萣.台南喜樹-郭姓 --三聖祖佛-老先生-陳姓 十二始祖-郭淑 三元真君-洪熹
義竹-翁姓 --安溪董公真人

大使公(王孫大使)-陳井陳姓(廈門灌縣)
-嘉義鹿草圓山宮、雲林東勢南天宮、彰化二林圓和宮
康濟明王(王審知)-蓮溪葉氏(廈門蓮阪)
東峰大帝(江萬里)-鹿陶洋江姓
里主尊王(施全)-鹿草施姓(今華封堂)
代天金帝 --太保水虞厝葉氏(葉祖厝)開基祖(葉覲美)

雲林斗南-李姓 --輔信王公-李百苗(為隴西宮,又名李祖廟)

彰化田中-謝姓 --謝安王爺、謝玄元帥(為寶樹宮,原名謝氏家廟)

彰化鹿港北頭-郭姓 --唐忠武王-郭子儀、廣澤尊王-郭忠福(為保安宮)
台南西港大竹林大塭寮-郭姓 --唐忠武王-郭子儀、廣澤尊王-郭忠福(為汾陽殿)

雲林台西-丁姓 --丁府八千歲-丁啟濬(為萬厝濟陽府,當地丁姓人家稱其為叔王)

source: http://tw.myblog.yahoo.com/jw!f3UkS_OQHw8etVHZI2xhF8k-/article?mid=6015&prev=6453&next=4564&l=f&fid=102

วันอังคารที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2555

通书 - ถองสู้ ปฏิทินโหราศาสตร์จีน



สิ่งที่ผมมักจะได้ยินอยู่เสมอเวลาไปที่อ้าม(ศาลเจ้า) เวลามีม้าทรงใหม่ๆ ลงพระใหม่ๆ แล้วคนในศาลเจ้ามักจะพูดว่า "เปิดถองสู้ดูซิ ว่าพระนี้มีหรือเปล่า" หรือ "เปิดถองสู้ดูซิว่าประวัติพระนี่เป็นอย่างไร"

ผมก็อยากจะบอกโกๆ แปะๆ ในอ้ามนะครับว่า ถองสู้นี่มันไม่ใช่หนังสือประวัติเทพเจ้าจีนนะเออ ถองสู้ หรือ ถองซู ในภาษาจีนกลาง (通书 พินอิน tōng shū หมิ่นหนาน thong-su) นี่นะคือปฏิทินโหราศาสตร์นั้นเองครับ

ถองสู้ จะมีการพยากรณ์วันในปฏิทินจันทรคติของจีน ว่าเป็นวันดีหรือวันไม่ดี วันนี้ควรทำอะไร หรือไม่ควรทำอะไร ซึ่งคำแนะนำบางครั้งถ้าคนสมัยใหม่อ่านแล้วอาจจะดูว่าไม่มีเหตุผล ไม่เมคเซ็นส์ แต่ชาวจีนก็อาศัยถองสู้เป็นไกด์ไลน์ในการดำเนินชีวิตมาไม่น้อยกว่าสองพันปีมาแล้ว คำแนะนำในถองสู้นั้นสามารถนำมาใช้ง่ายๆในทุกๆวัน หรือ สามารถใช้พยากรณ์เหตุการณ์ หรือหาฤกษ์ยามในกรณีที่ซับซ้อนซ่อนเงื่อน ของบรรดาเหล่าซินแซทั้งหลายอีกด้วยครับ

ปัจจุบันถองสู้มีพิมพ์กันหลายเวอร์ชั่น หลายรูปแบบ แต่ที่หลักๆนั้นก็จะแสดง วันตามจันทรคติ พร้อมคำพยากรณ์ในวันนั้นสั้นๆ, เลขศาสตร์, รอบการพยากรณ์, เทศกาลต่างๆที่ตรงกับวันที่แสดง, สิ่งที่ควรทำ, สิ่งที่ไม่ควรทำ, ทิศที่ดีและไม่ดี และอื่นๆอีกมากครับ

ผมคิดว่าหลายบ้านก็มีถองสู้อยู่ในบ้านครับ ที่พบมากในบ้านเรา ผมเห็นเป็นของสำนักน่ำเอี้ยงครับ ผมว่าของแกครองตลาดอยู่เป็นเจ้าใหญ่เลยละ เดี๋ยวนี้สามารถดูถองสู้ออนไลน์ได้ ตามยุคดิจิตอลและยุคหวัดสองพันเก้า ลองเข้าเวบนี้ดูครับ ถองสู้ดอทคอม ฮ่าๆ http://www.tongshu.com/

หมายเหตุ: บทความเก่า เขียนเมื่อ Sep 27, '09 3:20 PM

วันศุกร์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ที่มาของพิธีการเข้าทรงของคนจีน

เป็นอีกบทความที่เอามาเล่าใหม่จากเวบบล็อกอันเก่านะครับ ก็จะค่อยๆ ทยอยมาโพสไว้ในเวบครับ ขอบคุณครับ

การบูชาต่างกี่หรือการเข้าทรงของคนจีนนั้น ถือได้ว่าเป็นความเชื่อศาสนา ที่โบราณที่สุดของจีน พิธีกรรมทรงเจ้าต่างๆ ในปัจจุบัน คือ มรดกทางประวัติศาสตร์กว่า 5,000 ปี ของการปฏิบัติพิธีกรรมนี้

ต่างกี่หรือม้าทรง ในฐานะของสื่อกลางระหว่างเทพนักรบ หรือเทพบรรพบุรุษ ได้ถูกพัฒนาขึ้น จากความเชื่อของชาวชนเผ่าโบราณ ก่อนยุคที่มีความเชื่อทางศาสนาของจีน ซึ่งต้นกำเนิดสามารถสืบค้นไปถึงพิธีกรรมของชนเผ่าเย้า (瑤) (1) ซึ่งเคยใช้ชีวิตอยู่บริเวณภาคใต้ของประเทศจีนในช่วง 3,000 ปี ก่อนคริสตกาล ซึ่งมีพิธีทางเวทย์มนต์และจิตวิญญาณของชนเผ่าเย้าแบบหนึ่งที่เรียกว่า “การเต้นหยู” (Yu Step-禹步) ซึ่งเป็นพิธีของผู้ชายโดยการการเต้นรำเบื้องหน้าแท่นบูชา

การเต้นหยูนั้นถือได้ว่าเป็นการแสดงเวทมนต์ที่มีพลังมากที่สุดในศาสนาเต๋า การเต้นนั้นได้รับการพัฒนาจากชนเผ่าเย้า ซึ่งดั้งเดิมซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของพิธีกรรมทางเวทย์มนต์ที่หมอผีได้กระทำขึ้นเพื่อให้มีอำนาจวิเศษและสามารถนำไปใช้ในการควบคุมสิ่งต่างๆ เช่น งูพิษ, ปลาผี และวิญญาณต่างๆ ซึ่งต่อมามีบันทึกว่าพิธีทางศาสนาของเผ่าเย้าได้ถูกซึมซับมาโดยชนเผ่าเย่ว์ (越) ซึ่งมีความเจริญต่อมาจนเป็นหนึ่งในนครรัฐอิสระของจีนในสมัยชุนชิว (春秋) (2) ยุคราชวงศ์โจว (周朝)

ปีที่ 306 ก่อนคริสกาล ในยุคจ้านกว๋อ(战国) (3) นครรัฐเย่ว์ ได้ถูกยึดครองโดยนครรัฐฉู่ (楚) โอรสองค์หนึ่งของเจ้านครรัฐเย่ว์ชื่ออู่จู (无诸)(4) ได้หลบหนีออกทางทะเลและได้ขึ้นฝั่งบริเวณใกล้เมืองฟู่โจว (福 州) มณฑลฮกเกี้ยน (福建) และได้สร้างอาณาจักรขึ้นมาใหม่โดยให้ชื่อหมิ่นเย่ว์ (闽越) โดยอาณาจักรหมิ่นเย่ว์ปักหลักเจริญรุ่งเรืองอยู่บริเวณตอนใต้ แถบเมืองเซี่ยเหมิน (厦门) ซึ่งในปัจจุบันเป็นจุดศูนย์กลางของชาวหมิ่นหนานหรือชาวฮกเกี้ยนและเป็นถิ่นกำเนิดของการบูชาต่างกี่จนถึงทุกวันนี้ จากข้อมูลทางประวัติศาสตร์ข้างต้นนี้ นำไปสู่ข้อสรุปได้ว่าการลงเข้าบูชาต่างกี่ในปัจจุบันนั้นมีต้นกำเนิดมาจากการเดินหยูซึ่งเป็นพิธีกรรมทางศาสนาเผ่าเย้านั้นเอง

การรับเอาพิธีกรรมของชาวชนเผ่ามาเป็นของคนจีน

การสืบค้นที่มาของการบูชาต่างกี่นั้น สามารถสืบได้มาจากพิธีกรรมการบูชาบรรพบุรุษของชนเผ่าเย้าและพิธีกรรมการเดินหยู โดยได้ถูกซึมซับเข้าสู่วัฒนธรรมจีนโดยผ่านระบบศักดินาของนครรัฐเย่ว์ ก่อนที่จะมาพัฒนาเป็นรูปแบบที่เราเห็นในปัจจุบัน ณ มณฑลฮกเกี้ยนของจีน ซึ่งเป็นศูนย์อำนาจของอาณาจักรหมิ่นเย่ว์โบราณ

เมื่อต้นแบบของพิธีกรรมการเต้นของเผ่าเย่ว์ ซึ่งเป็นกลุ่มชนเผ่าโบราณ ได้ถูกซึมซับมาเป็นพิธีกรรมของชนชาติจีนอันยิ่งใหญ่ ดังนั้นมันจึงได้ถูกเปลี่ยนเป็นพิธีกรรมของจีน ผ่านทางตำนานที่ยิ่งใหญ่เช่นกัน โดยตำนานกล่าวว่า พิธีการเต้นหยูนั้นเป็นการคิดค้นโดยต้าหยู (大禹)(5)ซึ่งเป็นหนึ่งในสามของกษัตริย์ในตำนานของผู้สร้างจักรวรรดิจีน และได้รับการนับถือว่าเป็นปฐมกษัตริย์ของราชวงศ์เซี่ย (夏) ซึ่งเป็นต้นแบบราชวงศ์ของจีนในยุคต่อมา ที่สำคัญก็คือ กษัตริย์หยู คือวีรบุรุษในตำนานของชาวเย่ว์อีกด้วย โดยชื่อต้าหยู (大禹) นั้นมีความสัมพันธ์กับอาณาจักรหมิ่นเย่ว์ (闽越) ผ่านทางอักษร 虫 (ฉง) ซึ่งแปลว่าหนอน และยังนำอักษรตัวนี้มาเป็นส่วนประกอบของอักษร 蛇 (เสอ) ซึ่งแปลว่างู และงูก็เป็นสัตว์สัญลักษณ์ของชาวเผ่าเย้าอีกด้วย

ภาพการประกอบพิธีของหมอผีชาวเย้า(เมี่ยน) ทางภาคเหนือของประเทศไทย

หน้ากากรูปเทพเจ้าที่พระชาวเย้าใช้ประดับบนศีรษะขณะประกอบพิธีกรรมทางศาสนา ภาพจาก http://www.nomadsjourney.com

อรรถธิบาย

(1) ชาวเย้า瑤族 หรือชาวเมี่ยน ได้รับการจัดให้อยู่ในเชื้อชาติ มองโกลอยด์ คืออยู่ในตระกูลจีนธิเบต ได้ปรากฏครั้งแรกในเอกสารบันทึกของจีน สมัยราชวงศ์ถัง โดยปรากฏในชื่อ ม่อเย้า มีความหมายว่าไม่อยู่ใต้อำนาจของผู้ใด เล่ากันว่า เมื่อประมาณ 2000 กว่าปีมาแล้วบรรพชน ได้ตั้งถิ่นฐานอยู่ที่ราบรอบทะเลสาปตงถิง แถบแม่น้ำแยงซี ยอมอ่อนน้อมให้ชนชาติผู้ปกครองรัฐ และไม่ยินยอมอยู่ภายใต้การบังคับกดขี่ของรัฐ จึงได้ทำการอพยพเข้าไปในป่าลึกบนภูเขาสูง ได้ตั้งถิ่นฐานสร้างบ้านด้วยมือของเขาเอง เพื่อปกป้องเสรีภาพจึงถูกขนานนามว่า ม่อเย้า ซึ่ง เหยาซีเหลียน ได้บันทึกไว้ในเหลียงซูต่อมาในสมัยราชวงศ์ซ่ง คำเรียกนี้ี้ถูกยกเลิกไปเหลือแต่คำว่า "เย้า" เท่านั้น

(2) ยุคชุนชิว(春秋時代) ประมาณ 770 ปีก่อนคริสต์ศักราช – 476 ปีก่อนคริสต์ศักราช เป็นยุคหนึ่งในราชวงศ์โจว ราชวงศ์ที่ยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์จีน นับเป็นยุคสมัยที่ได้รับการกล่าวขานอย่างมากในแง่ต่าง ๆ เนื่องจากเป็นยุคที่นครรัฐแต่ละรัฐรบด้วยด้วยกลอุบายที่แยบยล ก่อให้เกิดเป็นตำนานและเรื่องเล่าขานมากมายจนปัจจุบัน และเป็นต้นเรื่องที่ทำให้เกิดวรรณคดีจีนเรื่องสำคัญอีกเรื่อง คือ เลียดก๊ก ซึ่งการรบในยุคเลียดก๊กนั้นหลายเรื่องได้ถูกอ้างอิงในสามก๊กที่เกิดหลังจากนี้อีกนับพันปีต่อมา

(3) ยุคจ้านกว๋อ(战国时代) หรือ เลียดก๊ก (475-221 ปีก่อนค.ศ.) เป็นยุคย่อยยุคที่ 2 ในสมัยราชวงศ์โจวตะวันออก ต่อจากยุคชุนชิว โดยในยุคนี้เป็นยุคที่เหลือแคว้นใหญ่ที่ทำสงครามแย่งชิงอำนาจกันเพียง 7 แคว้น คือ ฉู่, ฉี, หาน, เอี้ยน, จ้าว,เว่ย และฉิน โดยทั้ง 7 แคว้นนี้ทำสงครามกันมายาวนาถึง 255 ปี ก่อนที่ฉินหวางเจิ้ง(ฉินอ๋องเจิ้ง)จะรวบรวมแผ่นดินจนเป็นปึกแผ่นได้สำเร็จเมื่อ 221 ปีก่อนค.ศ.

(4) 閩越王 - 無諸 史记•东越列传:闽越王无诸及越东海王摇者,其先皆越王勾践之后也,姓驺氏 - http://zh.wikipedia.org/zh/无诸

(5)กษัตริย์อวี่ (禹) มีชีวิตอยู่ในช่วง 2194 ปีก่อนคริสตกาล ถึง 2149 ปีก่อนคริสตกาล เป็นปฐมกษัตริย์ราชวงศ์เซี่ย (夏) ซึ่งนับเป็นราชวงศ์แรกของประเทศจีนที่มีการสืบราชบัลลังก์โดยสายเลือด เชื่อกันว่าเกิดที่หมู่บ้านเป่ยฉวน (北川) ซึ่งปัจจุบันอยู่ในมณฑลเสฉวน (四川) ได้รับยกย่องเป็นหนึ่งในสามกษัตริย์ ห้าจักรพรรดิผู้ยิ่งใหญ่ของจีน (三皇五帝) เดิมเขาเป็นขุนนางในสมัยที่พระเจ้าซุ่นเป็นกษัตริย์ปกครองประเทศจีน มีผลงานที่โด่งดังคือการคิดค้นระบบชลประทานเพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วม
อ้างอิง

1) Margaret Chan - THE ORIGIN OF TANG-KI WORSHIP
2) http://www.pbs.org
3) http://www.peoplesoftheworld.org
4) http://www.nomadsjourney.com
5) http://www.tribalartasia.com
6) http://www.mekongantiques.com
7) http://zh.wikipedia.org

*** บทความนี้ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ แก้ไขล่าสุด 29 nov 2010 ***
เรียบเรียงโดย cyberjoob@hotmail.com