มาเล่าเรื่องของชาจีนกับมนุษยชาติกันต่อนะครับ เล่าค้างไว้ถึงสมัยราชวงศ์ถัง (พ.ศ. 1161-1450) ซึ่ง “บิดาแห่งชา” ลวี้อวี่ ได้เขียน “คัมภีร์ชา” ขึ้นมาเป็นครั้งแรก
วันพฤหัสบดีที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2557
วันอาทิตย์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2557
เล่าเรื่องประวัติชาจีน ตอนที่ 1
เล่าเรื่องประวัติชาจีน ตอนที่ 1
การดื่มชาของคนจีนนั้นมีมาแต่โบราณแสนนานเป็นพันๆปีแล้วนะครับ นอกจากจะมีประวัติยาว นานชนิดสาวกันไม่ถึงแล้ว การดื่มชาของคนจีนนั้นยังมีความซับซ้อนมาก คือนอกจากดื่มชาเพื่อเป็นยาในตอน เริ่มแรกแล้ว คนจีนยังดื่มชากัน เพื่อความสุนทรีย์ เพื่อฐานะทางสังคม การเมือง และศาสนาอีกด้วย อาทิเช่น การดื่มชาชนิดต่างๆ ของคนจีนนั้นก็สามารถบ่งบอกถึง รสนิยม และฐานะทางเศษฐกิจ ของคนผู้นั้นอีกด้วย เพราะชาจีนบางชนิดนั้นแพงแสนแพง แถมยังหามาลิ้มลองยากมากๆนั้นเอง
ตำนานกำเนิดชานั้น ว่ากันว่า ผู้ที่ริเริ่มนำชามาให้พวกเราได้ลิ้มรสกันนั้นคือ เทพเจ้าเสินหนง ซึ่งถือได้ว่าเป็นเทพเจ้า ด้านสมุนไพรยุคโบราณของจีน และเชื่อกันว่ามีชีวิตอยู่ประมาณ 2,737 ปีก่อนคริสกาล เสินหนงนั้นจะต้องดื่มน้ำต้มสุกเป็นประจำ วันหนึ่งขณะพักลงกลางป่า ผู้รับใช้ก็ต้มน้ำให้เสินหนงดื่ม แล้วเกิดเหตุบังเอิญที่มีใบชาแห้งปลิว หล่นตกลงในหม้อน้ำที่กำลังเดือดพอดิบพอดี เจ้าผู้รับใช้ก็คงจะรีบมาก ไม่ได้ตรวจดูน้ำในหม้อ ก็จัดการเสริฟน้ำ ร้อนที่มีใบชาชงพอดีดื่มให้กับเสินหนง
เมื่อเสินหนงดื่มน้ำชาสีน้ำตาลเข้าไป ก็รู้สึกประหลาดใจว่า “โอ้วนี่ น้ำอะไร ทำไมดื่มแล้ว รู้สึกสดชื่นแบบนี้” ชา ที่เรารู้จักจึงเกิดกำเนิดขึ้นตั้งแต่นั้นมา อันนี้ผมไม่รู้จะขอบคุณเสินหนง หรือผู้รับใช้ดี แต่เอาเป็นว่า ชา ได้กำเนิดขึ้นแล้ว และมีเรื่องราวของพืชชนิดนี้ เคียงคู่กับวัฒนธรรมของมนุษยชาติเรา ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาครับ
ท่านที่มีความรู้เกี่ยวกับเทพเจ้าจีน คงจะทราบว่าเสินหนงนั้นเป็นเทพสมุนไพรครับ ดังนั้นการดื่มชาใน ยุคแรกๆ จะเป็นการดื่มเพื่อ “คุณสมบัติทางยา” เป็นหลักครับ เท่าที่มีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรย้อนกลับไป ตั้งแต่สมัยราชวงศ์โจว (1046–256 ก่อนคริสกาล) จนถึงสมัยราชวงศ์ฮั่น (206 ก่อนคริสกาล– ค.ศ. 220) นั้น ชาวจีนมีการดื่มชาเพื่อเป็นยาอยู่ครับ และเริ่มมีการดื่มชาเพื่อความสุนทรีย์กับรสชา และเพื่อสังคม ในสมัยราชวงศ์ ถัง (ปีค.ศ.618– ปีค.ศ.907) เป็นต้นมาครับ
สมัยถังนี่ถือได้ว่าเป็นยุคทองของศิลปะแทบทุกแขนงครับ ทั้งบทกวี ดนตรี การแสดง และการดื่มชา ในสมัยถังนี่เอง ชาวจีนผู้หนึ่งชื่อ ลวี้อวี่ คนหูเป่ย ได้เขียนหนังสือ “คัมภีร์ชา” ขึ้นในปี ค.ศ.780 โดยมีเนื้อหา เกี่ยวกับการปลูกชา การเก็บและหมักใบชา การเตรียมและชงชา รวมไปถึงการระบุเกรดของใบชา และอธิบายถึงแหล่งปลูกชาที่ดีที่สุดอีกด้วย เรียกได้ว่า “คัมภีร์ชา” เล่มนี้ เป็นสุดยอดคู่มือชากันเลยทีเดียว
การชงชาในยุคนั้นแตกต่างจากปัจจุบันนี้ มากนะครับ สมัยนั้นเขาจะนำใบชามาอัดเป็นก้อนแข็งเหมือน ก้อนขนมเค้ก เวลาจะดื่มนี้จะต้องมาทำให้เป็นผงแล้วเติมน้ำเดือดลงไป หรือนำผงชามาต้มรวมกับน้ำในกาดินเผา ในคัมภีร์ชา ได้ระบุไว้ว่าในพิธีชงชานั้นจะต้องใช้อุปกรณ์กันถึง 27 ชิ้นกันเลยทีเดียว ซึ่งทำให้พิธีชงชานี้มีความยุ่ง ยากและมีราคาพอสมควร จึงทำให้แพร่หลายเฉพาะหมู่ไฮโซในยุคนั้นเช่น หมู่บัณฑิษ ข้าราชการ และเชื้อพระวงศ์ เท่านั้น
ลวี้อวี่เป็นเด็กกำพร้า พระในวัดเซนเก็บมาเลี้ยงตั้งแต่เล็ก ได้รับการถ่ายทอดวีถีแห่งชา ไปพร้อมๆกับ วิถีแห่งเซน แต่สุดท้ายก็ชื่นชอบบทกวี และฝักไฝ่ไปทางลัทธิขงจื้อ ซึ่งเป็นโลกียะวิสัย แตกต่างกับวิถีแห่งเซ็น อย่างสิ้นเชิง หลังจากที่เขียนหนังสือคัมภีร์ชา ลวี้อวี่ก็มีลูกศิษย์ลูกหา มาเรียนรู้เรื่องชากันมากมาย และได้รับ การยกย่องเป็น ”บิดาแห่งชา” มีชื่อเสียงโด่งดังจนสามารถทำให้ลวี้อวี่เป็นพระสหายว่ากับฮ่องเต้ได้
ชาทำให้ชะตาชีวิตคนโลดโผนถึงปานนี้ และมีอิทธิพลต่อสังคมจีนเป็นอย่างมาก ยังมีเรื่องราวของชาอีก มากที่แสนจะสนุก และน่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง ฉบับหน้าจะมาเล่าต่อครับ
= โกยจ๋ายเกียด =
14 พฤษภาคม 2556
การดื่มชาของคนจีนนั้นมีมาแต่โบราณแสนนานเป็นพันๆปีแล้วนะครับ นอกจากจะมีประวัติยาว นานชนิดสาวกันไม่ถึงแล้ว การดื่มชาของคนจีนนั้นยังมีความซับซ้อนมาก คือนอกจากดื่มชาเพื่อเป็นยาในตอน เริ่มแรกแล้ว คนจีนยังดื่มชากัน เพื่อความสุนทรีย์ เพื่อฐานะทางสังคม การเมือง และศาสนาอีกด้วย อาทิเช่น การดื่มชาชนิดต่างๆ ของคนจีนนั้นก็สามารถบ่งบอกถึง รสนิยม และฐานะทางเศษฐกิจ ของคนผู้นั้นอีกด้วย เพราะชาจีนบางชนิดนั้นแพงแสนแพง แถมยังหามาลิ้มลองยากมากๆนั้นเอง
ตำนานกำเนิดชานั้น ว่ากันว่า ผู้ที่ริเริ่มนำชามาให้พวกเราได้ลิ้มรสกันนั้นคือ เทพเจ้าเสินหนง ซึ่งถือได้ว่าเป็นเทพเจ้า ด้านสมุนไพรยุคโบราณของจีน และเชื่อกันว่ามีชีวิตอยู่ประมาณ 2,737 ปีก่อนคริสกาล เสินหนงนั้นจะต้องดื่มน้ำต้มสุกเป็นประจำ วันหนึ่งขณะพักลงกลางป่า ผู้รับใช้ก็ต้มน้ำให้เสินหนงดื่ม แล้วเกิดเหตุบังเอิญที่มีใบชาแห้งปลิว หล่นตกลงในหม้อน้ำที่กำลังเดือดพอดิบพอดี เจ้าผู้รับใช้ก็คงจะรีบมาก ไม่ได้ตรวจดูน้ำในหม้อ ก็จัดการเสริฟน้ำ ร้อนที่มีใบชาชงพอดีดื่มให้กับเสินหนง
เมื่อเสินหนงดื่มน้ำชาสีน้ำตาลเข้าไป ก็รู้สึกประหลาดใจว่า “โอ้วนี่ น้ำอะไร ทำไมดื่มแล้ว รู้สึกสดชื่นแบบนี้” ชา ที่เรารู้จักจึงเกิดกำเนิดขึ้นตั้งแต่นั้นมา อันนี้ผมไม่รู้จะขอบคุณเสินหนง หรือผู้รับใช้ดี แต่เอาเป็นว่า ชา ได้กำเนิดขึ้นแล้ว และมีเรื่องราวของพืชชนิดนี้ เคียงคู่กับวัฒนธรรมของมนุษยชาติเรา ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาครับ
ท่านที่มีความรู้เกี่ยวกับเทพเจ้าจีน คงจะทราบว่าเสินหนงนั้นเป็นเทพสมุนไพรครับ ดังนั้นการดื่มชาใน ยุคแรกๆ จะเป็นการดื่มเพื่อ “คุณสมบัติทางยา” เป็นหลักครับ เท่าที่มีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรย้อนกลับไป ตั้งแต่สมัยราชวงศ์โจว (1046–256 ก่อนคริสกาล) จนถึงสมัยราชวงศ์ฮั่น (206 ก่อนคริสกาล– ค.ศ. 220) นั้น ชาวจีนมีการดื่มชาเพื่อเป็นยาอยู่ครับ และเริ่มมีการดื่มชาเพื่อความสุนทรีย์กับรสชา และเพื่อสังคม ในสมัยราชวงศ์ ถัง (ปีค.ศ.618– ปีค.ศ.907) เป็นต้นมาครับ
สมัยถังนี่ถือได้ว่าเป็นยุคทองของศิลปะแทบทุกแขนงครับ ทั้งบทกวี ดนตรี การแสดง และการดื่มชา ในสมัยถังนี่เอง ชาวจีนผู้หนึ่งชื่อ ลวี้อวี่ คนหูเป่ย ได้เขียนหนังสือ “คัมภีร์ชา” ขึ้นในปี ค.ศ.780 โดยมีเนื้อหา เกี่ยวกับการปลูกชา การเก็บและหมักใบชา การเตรียมและชงชา รวมไปถึงการระบุเกรดของใบชา และอธิบายถึงแหล่งปลูกชาที่ดีที่สุดอีกด้วย เรียกได้ว่า “คัมภีร์ชา” เล่มนี้ เป็นสุดยอดคู่มือชากันเลยทีเดียว
การชงชาในยุคนั้นแตกต่างจากปัจจุบันนี้ มากนะครับ สมัยนั้นเขาจะนำใบชามาอัดเป็นก้อนแข็งเหมือน ก้อนขนมเค้ก เวลาจะดื่มนี้จะต้องมาทำให้เป็นผงแล้วเติมน้ำเดือดลงไป หรือนำผงชามาต้มรวมกับน้ำในกาดินเผา ในคัมภีร์ชา ได้ระบุไว้ว่าในพิธีชงชานั้นจะต้องใช้อุปกรณ์กันถึง 27 ชิ้นกันเลยทีเดียว ซึ่งทำให้พิธีชงชานี้มีความยุ่ง ยากและมีราคาพอสมควร จึงทำให้แพร่หลายเฉพาะหมู่ไฮโซในยุคนั้นเช่น หมู่บัณฑิษ ข้าราชการ และเชื้อพระวงศ์ เท่านั้น
ลวี้อวี่เป็นเด็กกำพร้า พระในวัดเซนเก็บมาเลี้ยงตั้งแต่เล็ก ได้รับการถ่ายทอดวีถีแห่งชา ไปพร้อมๆกับ วิถีแห่งเซน แต่สุดท้ายก็ชื่นชอบบทกวี และฝักไฝ่ไปทางลัทธิขงจื้อ ซึ่งเป็นโลกียะวิสัย แตกต่างกับวิถีแห่งเซ็น อย่างสิ้นเชิง หลังจากที่เขียนหนังสือคัมภีร์ชา ลวี้อวี่ก็มีลูกศิษย์ลูกหา มาเรียนรู้เรื่องชากันมากมาย และได้รับ การยกย่องเป็น ”บิดาแห่งชา” มีชื่อเสียงโด่งดังจนสามารถทำให้ลวี้อวี่เป็นพระสหายว่ากับฮ่องเต้ได้
ชาทำให้ชะตาชีวิตคนโลดโผนถึงปานนี้ และมีอิทธิพลต่อสังคมจีนเป็นอย่างมาก ยังมีเรื่องราวของชาอีก มากที่แสนจะสนุก และน่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง ฉบับหน้าจะมาเล่าต่อครับ
= โกยจ๋ายเกียด =
14 พฤษภาคม 2556
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)