วันอาทิตย์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2557

เล่าเรื่องประวัติชาจีน ตอนที่ 1

เล่าเรื่องประวัติชาจีน ตอนที่ 1


การดื่มชาของคนจีนนั้นมีมาแต่โบราณแสนนานเป็นพันๆปีแล้วนะครับ นอกจากจะมีประวัติยาว นานชนิดสาวกันไม่ถึงแล้ว การดื่มชาของคนจีนนั้นยังมีความซับซ้อนมาก คือนอกจากดื่มชาเพื่อเป็นยาในตอน เริ่มแรกแล้ว คนจีนยังดื่มชากัน เพื่อความสุนทรีย์ เพื่อฐานะทางสังคม การเมือง และศาสนาอีกด้วย อาทิเช่น การดื่มชาชนิดต่างๆ ของคนจีนนั้นก็สามารถบ่งบอกถึง รสนิยม และฐานะทางเศษฐกิจ ของคนผู้นั้นอีกด้วย เพราะชาจีนบางชนิดนั้นแพงแสนแพง แถมยังหามาลิ้มลองยากมากๆนั้นเอง
ตำนานกำเนิดชานั้น ว่ากันว่า ผู้ที่ริเริ่มนำชามาให้พวกเราได้ลิ้มรสกันนั้นคือ เทพเจ้าเสินหนง ซึ่งถือได้ว่าเป็นเทพเจ้า ด้านสมุนไพรยุคโบราณของจีน และเชื่อกันว่ามีชีวิตอยู่ประมาณ 2,737 ปีก่อนคริสกาล เสินหนงนั้นจะต้องดื่มน้ำต้มสุกเป็นประจำ วันหนึ่งขณะพักลงกลางป่า ผู้รับใช้ก็ต้มน้ำให้เสินหนงดื่ม แล้วเกิดเหตุบังเอิญที่มีใบชาแห้งปลิว หล่นตกลงในหม้อน้ำที่กำลังเดือดพอดิบพอดี เจ้าผู้รับใช้ก็คงจะรีบมาก ไม่ได้ตรวจดูน้ำในหม้อ ก็จัดการเสริฟน้ำ ร้อนที่มีใบชาชงพอดีดื่มให้กับเสินหนง
เมื่อเสินหนงดื่มน้ำชาสีน้ำตาลเข้าไป ก็รู้สึกประหลาดใจว่า “โอ้วนี่ น้ำอะไร ทำไมดื่มแล้ว รู้สึกสดชื่นแบบนี้”  ชา ที่เรารู้จักจึงเกิดกำเนิดขึ้นตั้งแต่นั้นมา อันนี้ผมไม่รู้จะขอบคุณเสินหนง หรือผู้รับใช้ดี แต่เอาเป็นว่า ชา ได้กำเนิดขึ้นแล้ว และมีเรื่องราวของพืชชนิดนี้ เคียงคู่กับวัฒนธรรมของมนุษยชาติเรา ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาครับ



ท่านที่มีความรู้เกี่ยวกับเทพเจ้าจีน คงจะทราบว่าเสินหนงนั้นเป็นเทพสมุนไพรครับ ดังนั้นการดื่มชาใน ยุคแรกๆ จะเป็นการดื่มเพื่อ “คุณสมบัติทางยา” เป็นหลักครับ เท่าที่มีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรย้อนกลับไป ตั้งแต่สมัยราชวงศ์โจว (1046–256 ก่อนคริสกาล) จนถึงสมัยราชวงศ์ฮั่น (206 ก่อนคริสกาล– ค.ศ. 220) นั้น ชาวจีนมีการดื่มชาเพื่อเป็นยาอยู่ครับ และเริ่มมีการดื่มชาเพื่อความสุนทรีย์กับรสชา และเพื่อสังคม ในสมัยราชวงศ์ ถัง (ปีค.ศ.618– ปีค.ศ.907) เป็นต้นมาครับ
สมัยถังนี่ถือได้ว่าเป็นยุคทองของศิลปะแทบทุกแขนงครับ ทั้งบทกวี ดนตรี การแสดง และการดื่มชา ในสมัยถังนี่เอง ชาวจีนผู้หนึ่งชื่อ ลวี้อวี่ คนหูเป่ย ได้เขียนหนังสือ “คัมภีร์ชา” ขึ้นในปี ค.ศ.780 โดยมีเนื้อหา เกี่ยวกับการปลูกชา การเก็บและหมักใบชา การเตรียมและชงชา รวมไปถึงการระบุเกรดของใบชา และอธิบายถึงแหล่งปลูกชาที่ดีที่สุดอีกด้วย เรียกได้ว่า “คัมภีร์ชา” เล่มนี้ เป็นสุดยอดคู่มือชากันเลยทีเดียว
การชงชาในยุคนั้นแตกต่างจากปัจจุบันนี้ มากนะครับ สมัยนั้นเขาจะนำใบชามาอัดเป็นก้อนแข็งเหมือน ก้อนขนมเค้ก เวลาจะดื่มนี้จะต้องมาทำให้เป็นผงแล้วเติมน้ำเดือดลงไป หรือนำผงชามาต้มรวมกับน้ำในกาดินเผา ในคัมภีร์ชา ได้ระบุไว้ว่าในพิธีชงชานั้นจะต้องใช้อุปกรณ์กันถึง 27 ชิ้นกันเลยทีเดียว ซึ่งทำให้พิธีชงชานี้มีความยุ่ง ยากและมีราคาพอสมควร จึงทำให้แพร่หลายเฉพาะหมู่ไฮโซในยุคนั้นเช่น หมู่บัณฑิษ ข้าราชการ และเชื้อพระวงศ์ เท่านั้น
ลวี้อวี่เป็นเด็กกำพร้า พระในวัดเซนเก็บมาเลี้ยงตั้งแต่เล็ก ได้รับการถ่ายทอดวีถีแห่งชา ไปพร้อมๆกับ วิถีแห่งเซน แต่สุดท้ายก็ชื่นชอบบทกวี และฝักไฝ่ไปทางลัทธิขงจื้อ ซึ่งเป็นโลกียะวิสัย แตกต่างกับวิถีแห่งเซ็น อย่างสิ้นเชิง  หลังจากที่เขียนหนังสือคัมภีร์ชา ลวี้อวี่ก็มีลูกศิษย์ลูกหา มาเรียนรู้เรื่องชากันมากมาย และได้รับ การยกย่องเป็น ”บิดาแห่งชา” มีชื่อเสียงโด่งดังจนสามารถทำให้ลวี้อวี่เป็นพระสหายว่ากับฮ่องเต้ได้
ชาทำให้ชะตาชีวิตคนโลดโผนถึงปานนี้ และมีอิทธิพลต่อสังคมจีนเป็นอย่างมาก ยังมีเรื่องราวของชาอีก มากที่แสนจะสนุก และน่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง ฉบับหน้าจะมาเล่าต่อครับ

= โกยจ๋ายเกียด =
14 พฤษภาคม 2556



วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

การเรียกงานวันเกิดพระ (เทพเจ้าจีน) ให้ถูกต้อง



สำหรับคนจีนแล้ว งานคล้ายวันเกิดจะจัดได้ต้องมีอายุครบหกสิบปีนะครับ (แซยิด 生日)  เพราะว่า นั้นคือ งานครบรอบวันคล้ายวันเกิดจริงๆ เนื่องจากในระบบปีนักสัตว์ (ถ้าเขียนผิดขออภัยด้วย) ของจีนนั้น ประกอบด้วยสิบสองนักสัตว์ แต่ละนักสัตว์แบ่งเป็น ห้าธาตุ เช่น ผมเกิดปี วัวธาตุดิน (เรียกสั้นๆว่าวัวดิน) ต้องรอให้ครบ 12 ปี x 5 ธาตุ จึงจะครอบรอบปีวัวดิน ของผม

แต่สำหรับพวกเทพเจ้าเทวดาจีนนั้น แต่ละท่านมีอายุเป็นหลักร้อยปีพันปี จึงมีคำเฉพาะเรียกงานคล้ายวันเกิดของพวกเทวดาเหล่านั้น ซึ่งที่พบเห็นมีดังนี้ครับ

บ่านซิว (bān-siū) - 萬壽

ใช้สำหรับเทพระดับบิ๊กๆเท่านั้นครับ เช่น ซำเช้ง 三清道祖 เทพศาสดาของศาสนาเต๋า หรือ หยกอ๋องซ่งเต่ 玉皇大天尊 เทพเจ้าของเทพเจ้า แต่ในหนังสือที่ผมสะแกนมาให้ดูเป็นตัวอย่างนั้น พระเหี้ยนเที้ยนซ่งเต่ ก็ใช้คำว่า บ่านซิ่ว ด้วยนะครับ


เช้งชิว (chheng-chhiu) - 千秋

ใช้สำหรับเทพเจ้าชั้นสูง เช่น ระดับ เทียนเต่ 天帝 หรือ เต่กุน 帝君 เป็นต้นครับ เช่น เทพ 紫微帝君 (หนึ่งใน กิ้วอ๋องไต่เต่ งัย โปรดสังเกตว่ามีการใช้คำว่า 紫 ซึ่งแปลว่าสีม่วง มาใช้เป็นชื่อเรียกท่าน เพราะท่านเกิดตอนเริ่มแรกของการเกิดสรรพสิ่งในจักรวาล หรือ บิ๊กแบง (ไท่จี๋) ครับ และแสงสเปรคตั้ม สีม่วงนั้นมีความถี่สูงสุด และให้ความร้อนสูงสุด ดังนั้น ศาสนาเต๋าจึงให้ความสำคัญกับสีม่วงมากๆๆๆ และเชื่อกันว่า เป็นสีแห่งความบริสุทธิ์ครับ ไม่ใช่สีขาวนะเออ ฮ่าๆ), 天皇大帝 (เที้ยนอ๋องไต่เต่ นี่ก็เป็นหนึ่งในกิ้วอ๋อง), ไท่อิดเทียนจุน 太乙天尊, 普化天尊, 東嶽大帝, 三官大帝 เป็นต้น


หัวต้าน hôa tàn หรือ หัวซิว hôa siū - 華誕,華壽

ใช้กับเทพเจ้าหรือ เซียนที่เป็นเพศหญิงครับ เทพธิดานางฟ้า นั้นเอง
อาทิเช่น 王母娘娘, 斗姆元君, 媽祖 เป็นต้น
แต่ตัวอย่างที่ผมสะแกน จะไม่เห็นใช้คำนี้เน๊อะ เดี๋ยวจะลองไปเปิดอีกเล่มดู เผื่อใช้ไม่เหมือนกัน

เซ้งต้าน sèng-tàn - 聖誕

ใช้กับเทพระดับอาจารย์ (師), เซียน (仙), ฤาษี (真人จินหยิน), นายพล จอมทัพ (天將,天君元帥เที้ยนกุน, หง่วนโซ่ย) หรือ บุคคลในประวัติศาสตร์ที่สำเร็จเป็นเทพ มียศศักดิ์ในสวรรค์ชัดเจน เช่น กวนกง 關公 หรือ งักฮุย 岳飛 เป็นต้น

tàn-sîn ต้านสิน หรือ ซิวต้าน siū tàn - 誕辰, 壽誕

ใช้กับเทพเจ้าทั่วๆไปได้ครับ แต่บางครั้งจะเห็นใช้กันมากโดยเฉพาะกับเทวดาเจ้าที่ 土地公 หรือเทพรักษาเมือง 城隍神 หรือ เทพเจ้าที่อยู่ในโลกของดินและน้ำครับ 地界水界諸神 (ในระบบเทวดาจีนจะแบ่งเป็นสามโลกคือ ฟ้า ดิน และน้ำ ครับ)

งานวันเกิดพระที่จัดกันส่วนใหญ่ที่ผมเห็นมา ส่วนมากผมจะเห็นเน้นการเข้าทรงซะมาก บางทีมีการดื่มเหล้ากันเป็นที่ครึกครื้นอีกด้วย

น้อยมากหรือแทบจะไม่เห็นเลยคือการประชาสัมพันธ์ คุณความดีของเทพเหล่านั้น และระลึกถึงความดีของท่าน เทวดาจีนส่วนใหญ่ตอนมีชิวิตเป็นมนุษย์ ต้องประสบกับความยากลำบากต่างๆนานา เพื่อบรรลุคุณธรรมความดี หรือ ช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ ด้วยกันครับ

บทความนี้เขียนเมื่อ ๒๙ เมษายน ๒๕๕๑

วันอังคารที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

เทพประตูชาวดัทช์








รูปเทพเจ้าประตูที่เห็นเป็นฝรั่งสองคนนี้ อยู่ที่เมืองไท่หนาน ไต้หวันครับ ศาลเจ้านี้มีชื่อว่า 鹿耳門鎮門宮

รูปเทพเจ้าเฝ้าประตูชาวดัทช์นี้ วาดขึ้นเมื่อสามร้อยปีมาแล้วครับ หลังจากที่เจิ้งเฉิงกง 鄭成功 หรือ ก็อกแซ่เอี๊ย 國姓爺 ได้ทำสงครามขับไล่ชาวดัทช์ออกจากเกาะไต้หวัน แล้วก็ได้ให้ช่างวาดเทพเจ้าสององค์นี้ไว้ที่ศาลเจ้าแห่งนี้

จะเห็นว่าเจ้าสององค์นี้ไม่มีรองเท้าใส่ครับ เพราะเป็นฝรั่งทำให้ไม่สามารถหาขนาดรองเท้าที่ชาวจีนใส่ๆกันได้ (จริงๆนะ) ก็เลยวาดเท้าเปล่าซะเลย เล่ากันว่าในช่วงปี ค.ศ.1950-1960 เทพเจ้าฝรั่งสององค์นี้มาเข้าฝันชาวบ้านแถบนั้นให้ช่วยหารองเท้าให้หน่อย เพราะทรมาณเหลือเกินกับที่ต้องไปไหนมาไหนเท้าเปล่า ความเจริญก็เข้ามาเรื่อยๆ เดินเท้าเปล่ามีแต่เชื้อโรค ดีไม่ดี เดี๋ยวเจอหวัดนกเอย พยาธิเอย มาเข้าฝันขอรองเท้าดีกว่า

ตั้งแต่นั้นมาชาวบ้านก็มีงานเฉลิมฉลองในการหาขนาดรองเท้าให้เทพเจ้าสององค์นี้ทุกปีครับ และในปี ค.ศ. 2008 ชาวเมืองไท่หนาน ก็จัดงานรับเทพเจ้าสององค์นี้เป็นประชาชนเมืองไท่หนานอย่างเป็นทางการ และให้ชื่อว่า 耳順 และ 鹿風 ครับ



ใครไปเที่ยววัดนี้ก็คงจะทราบความเป็นมาแล้วนะครับ ส่วนเทพเจ้าสไปเดอร์แมนเฝ้าประตูนั้น เอามาให้ดูแบบขำๆครับ 

สวัสดีครับ

วันเสาร์ที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

การใช้สีเสื้อคลุมกิมสิ้น (神像神袍顏色簡介)

土地公 - ในเสื้อคลุมสีน้ำเงิน (ภาพจาก http://www.taiwantoday.tw )


ปัจจุบันมีกิมสิ้นวางจำหน่ายในท้องตลาดเยอะมากนะครับ หลังจากที่มีกิมสิ้นแล้ว ส่วนใหญ่ก็มักจะมีชุดหรือเสื้อคลุมให้กับกิมสิ้นของตัวเองที่นับถือ คำถามที่ผมจะโดนถามบ่อยๆคือ "จะต้องใช้ชุดสีอะไร" ให้กับกิมสิ้นของเรา

สำหรับระบบเทพเจ้าในศาสนาเต๋านั้น จะมีการระบุตำแหน่งลำดับขั้นอย่างชัดเจนครับ การจะใช้สีอะไรนั้นต้องให้ถูกต้องตามลำดับขั้นของเทพเจ้าองค์นั้นๆครับ ผมมีคำแนะนำดังนี้ครับ

1. หยกหองไต่เทียนจุน หรือ หยกหองซ่งเต่ (玉皇大天尊) - ใช้สีเหลือง หรือ สีม่วง ลายมังกร
2. อ๋องโบ้เหนียวเหนียว (王母娘娘) – ใช้สีเหลือง หรือ สีม่วง ลายมังกร หรือลายนกฟินิกซ์
3. อ๋องเอี๋ย หรือ เชียนโส่ย (王爺與千歲) – ใช้สีส้ม ลายธรรมดาทั่วไป
4. กวนกง หรือ กวนอู (關公) – ใช้สีส้ม, สีแดง หรือสีเขียว ลายมังกร
5. ปุนเถ่ากง หรือฮกเต็กเจี้ยสิน ถือไม้เท้าแบบธรรมดา(木手杖福德正神) – ใช้สีแดง หรือสีน้ำเงิน
6. ปุนเถ่ากง หรือฮกเต็กเจี้ยสิน ถือไม้เท้าหัวมังกร (龍頭手杖福德正神) – ใช้สีแดงหรือสีส้ม
7. ถ่อเต่กง และ ถ่อเต่โป๋ (土地公與土地婆) – ใช้สีน้ำเงิน หรือสีน้ำตาล
8. ม้าจ้อโป๋ (媽祖) – ใช้สีชมพู, สีส้ม หรือสีน้ำเงิน ลายมังกรหรือลายนกฟินิกซ์
9. เสี่ยหอง (城隍) – สีส้มหรือสีแดง ลายทั่วไป
10. จ่ายสิ๋น (財神) - สีส้มหรือสีแดง ลายทั่วไป
11. เตียวเทียนซือ (張天師) – สีส้มหรือสีม่วง ลายทั่วไป หรือลายยันต์แปดเหลี่ยม
12. ก่ำเที้ยนไต่เต่ (許天師或感天大帝) – สีส้มหรือสีแดง ลายทั่วไป หรือลายยันต์แปดเหลี่ยม
13. เหี่ยนเที้ยนซ่งเต่ (玄天上帝) – ใช้สีดำหรือสีน้ำเงินเข้ม ลายมังกร
14. หง่วนโส่ย หรือ สิ๋นเจี่ยง (元帥與神將) – การใช้สีอะไรนั้นให้ขึ้นกับธาตุ หรือทิศ ของเทพนั้นๆไป ถ้าไม่แน่ใจก็ใช้สีแดงครับ