วันพฤหัสบดีที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2552

เหว่ยหัวฉุน - 魏華存




เหว่ยหัวฉุน (魏華存) หรือ เหว่ยเสียนอาน (魏贤安) เกิดในสมัยราชวงศ์จิ้น ในปีค.ศ.251 (晉朝公元二五一年) ณ หมู่บ้านเหริ้นเฉิง เมืองจี้หนิง มณฑลซานตง (中國山东省济宁市任城) บิดารับราชการมีชื่อว่า เหว่ยซู (魏舒)

เหว่ ยหัวฉุน สามารถศึกษาคัมภีร์เต๋าต่างๆในยุคนั้นได้ตั้งแต่อายุยังน้อย โดยเฉพาะคัมภีร์เต้าเต๋อจิงของเล่าจื้อ และคัมภีรืเต๋าของจวงจื้อ เมื่อนางมีอายุเพียงสิบสองปีก็สามารถท่องคัมภีร์เต๋าต่างๆโดยไม่ต้องเปิด หนังสือดู และสามารถเข้าฌาณสมาธิเต๋าได้ ด้วยความแตกฉานในคัมภีร์เต๋า นางสามารถใช้ความสามารถพิเศษนี้ในการสอนแนวคิดเต๋าและยังใช้เวทมนต์วิเศษใน การรักษาผู้คนอีกด้วย

ขณะที่นางมีอายุได้ยี่สิบปี นางเริ่มเข้าป่าเพื่อเก็บสมุนไพรมาทำยารักษาชาวบ้าน โดยสมุนไพรหรือตัวยาใหม่ๆที่คิดค้นขึ้นนั้น นางจะลองชิมยาต่างๆด้วยตัวเองก่อนเสมอเพื่อให้มั่นใจว่าตัวยานั้นปลอดภัย สำหรับผู้ป่วย จากการที่นางได้รับยาสมุนไพรต่างๆมากเกินไป ทำให้ร่างกายของนางเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นเช่น นางไม่ต้องการกินอาหารเหมือนคนธรรมดาทั่วไป เมื่อนางมีอายุยี่สิบสี่ปี บิดาได้ให้นางแต่งงานบัณฑิษนามว่า หลิวเหวิน (刘文) เพื่อไม่ต้องการให้นางหมกมุ่นกับการปฏิบัติเต๋าและบิดานางยังเข้าใจว่า ถ้านางแต่งงานแล้ว นางคงจะไม่มุ่งมั่นในการเป็นเซียน




ชีวิต แต่งงาน ของนาง ทำให้นางต้องหยุดการปฏิบัติตนเพื่อสำเร็จเซียนและหยุดการออกหาสมุนไพร ในเวลาสองปีแรกของชีวิตแต่งงาน นางให้กำเนิดบุตรชายสองคนคือ หลิวปู๋ (刘璞) และ หลิวเสีย (刘瑕) ซึ่งต่อมาทั้งสองคือผู้นำของเต๋านิกายซ่างชิง (上清派) หลังจากนางให้กำเนิดบุตร เวลาส่วนใหญ่นางจะปลีกวิเวกเพื่อฝึกสมาธิ

ใน ปี ค.ศ.288 นางอายุได้สามสิบเจ็ดปี วันหนึ่งขณะที่นางนั่งอ่านหนังสืออยู่ที่บ้านนั้น ได้ปรากฎกลุ่มเซียนเหาะลงมาจากสวรรค์ นางจึงจุดธูปเทียนบูชาและอัญเชิญกลุ่มเซียนเหล่านั้นมาในบ้านของนาง เซียนท่านหนึ่งได้ยื่นคัมภีร์และของวิเศษให้แก่นาง หลังจากที่นางรับของเหล่านั้นมา เซียน ชิงซวี่เจินเหรินหวางเปา (清虚真人王褒) ก็ กล่าวกับนางว่า เซียนทั้งหลายมาที่นี่เพื่อมาแนะนำนางในการปฏิบัติเต๋าเพื่อให้นางสำเร็จ เซียนช่วยเหลือผู้อื่นในอนาคต ทันใดนั้น นางก็ได้คุกเข่าเพื่อขอให้เซียนหวางเปารับนางเป็นศิษย์ และภายในระยะเวลาหลายเดือนก็มีเซียนหลายท่านผลัดกันลงมาแนะนำนางในการ ปฏิบัติอยู่เสมอ

คัมภีร์ที่นางได้รับจากเซียนหวางเปานั้น คือคัมภีร์เต๋าจำนวนสามสิบเอ็ดบท คือ 太上寶文, 八素隱書, และ 大洞真經 ยังมีหนังสือที่เซียนจิ่งหลิน (景林真人) มอบให้แก่นางอีกคือ หนังสือ 黃庭內景經, 雲笈七簽 และ 道教經法傳授部 .上清源統經目注序 บันทึกกล่าวว่าหลังจากที่นางละสังขารสำเร็จเซียน นางได้มอบคัมภีร์เหล่านี้ให้แก่บุตรชาย และบุตรชายได้มอบต่อให้กับ หยางซี (楊羲) เพื่อสืบทอดต่อไป

หลาย ปีในการเรียนรู้และฝึกฝนเพื่อที่จะปฏิบัติเต๋าหลุดพ้น เป็นเซียน นางศึกษาเคล็ดวิชาต่างๆมากมาย เหว่ยหัวจุนได้ทำการเขียนบันทึกไว้เป็นคัมภีร์ ซึ่งถือได้ว่าเป็นคัมภีร์แรก และสำคัญยิ่งของเต๋านิกายซ่างชิง โดยคัมภีร์ที่นางเขียนขึ้นนี้มีชื่อว่า คัมภีร์ซ่างชิง (上清经) ซึ่งต่อมาเป็นคัมภีร์ที่ศิษย์เต๋าในนิกายนี้ต้องเรียนรู้อย่างแตกฉาน และนำใช้ในการเผยแผ่เต๋านิกายซ่างชิงต่อไป และในช่วงบั้นปลายชีวิต นางได้ใช้เวลาส่วนใหญ่ในการเขียนและแก้ไขเพิ่มเติมคัมภีร์เต๋าอันเก่าแก่อีก เล่มที่ ชื่อว่า คัมภีร์หวงถิง (黄庭经) ซึ่งคัมภีร์หวงถิงนี้จะมีเนื้อหาเคล็ดวิชาในการฝึกสมาธิเต๋า โดยการกำหนดจิตในเกิดนิมิต จนสงบสู่ระดับฌาณ คัมภีร์ทัั้งสองเล่มนี้ถือได้ว่าเป็นคัมภีร์เต๋าที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง เพราะอย่างที่กล่าวมาแล้วว่าเนื้อหาของคัมภีร์ทั้งสองกล่าวถึงการทำสมาธิ เต๋า ซึ่งการศึกษาเต๋าในสมัยของเหว่ยหัวจุนนั้น เน้นการสำเร็จเซียนด้วยการเล่นแร่แปรธาตุ และปรุงยาสมุนไพรต่างๆ เป็นหลัก



คัมภีร์หวงถิง

ใน ปีค.ศ. 334 (晉朝公元三三四年) เหว่ยหัวฉุนสำเร็จเป็นเซียนละสังขารในโลกมนุษย์ ล่องลอยสู่สวรรค์โดยมีชาวบ้านมากมายมาเป็นประจักษ์พยาน หลังจากที่นางสำเร็จเป็นเซียน นางก็มีชื่อว่า จื่อซวี่หยวนจุนหนานเย่วเหว่ยฟูเหริน (紫虚元君南岳魏夫人) เจ้าสำนักเต๋าซ่างชิงรุ่นที่เก้า เถาหงจิ่ง (九代宗师陶弘景) ได้ตั้งสำนักที่ภูเขาเหมาซาน (茅山) ทำให้เต๋านิกายซ่างชิง มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งคือ เต๋านิกายเหมาซานนั้นเอง (茅山派) โดยมีการรวมเอาปรมาจารย์ของเหมาซานทั้งสามซานเหมาเจินจวิน (三茅真君) เข้ามาบูชาในนิกายซ่างชิงนี้ด้วย



陶弘景

ปัจจุบันมีสำนักเต๋าที่แยกออกมาเป็นแขนงของนิกายซ่างชิง หรือนิกายเหมาซานนี้ออกมาเป็นจำนวนหนึ่ง ซึ่งพอจะแยกออกได้ดังนี้

1) สำนักเฟิงหยาง (鳳陽分派) มีเจียงหยุนเป็นผู้ก่อตั้งสำนัก (鳳陽開山祖師姜芸)
2) สำนักลิ้วเหริน (六壬分派) มีหลี่โปเป็นผู้ก่อตั้งสำนัก (六壬開山祖師李播) - ปัจจุบันสำนักนี้พบได้ที่ฮ่องกง
3) สำนักจินอิ้ง (金英分派) มีจินอิ้งเป็นผู้ก่อตั้งสำนัก (金英開山祖師金英)
4) สำนักไป่เหลียน (白蓮分派) มีหวางเสินเป็นผู้ก่อตั้งสำนัก (白蓮開山祖師王森)
5) สำนักไป่เหลียน (百連分派) มีเป่าเซิงเป็นผู้ก่อตั้งสำนัก (百連開山祖師寶生)

แต่ เนื่องจากการสอนของสำนักย่อยเหล่านี้ได้ผนวกเข้ากับความเชื่อดั้งเดิมของชาว บ้าน อาทิเช่นการเชื่อเรื่องภูติผีปีศาจต่างๆ ทำให้การฝึกฝน ในการปฏิบัติเต๋าตามคัมภีร์ซ่างชิงหายไปอย่างน่าเสียดาย

อ้างอิง

1) 魏华存 - http://baike.baidu.com/view/66783.htm
2) 魏華存 - http://www.taoism.org.hk/general-taoism/eminent-philosophers-accomplished-taoists/pg1-4-12.htm
3) 上清宗茅山派祖師魏華存 - http://javewu.multiply.com/photos/album/571/571
4) ภาพจาก
http://www.hudong.com/wiki/%E9%AD%8F%E5%8D%8E%E5%AD%98

ไม่มีความคิดเห็น: