วันพฤหัสบดีที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2552

เหว่ยหัวฉุน - 魏華存




เหว่ยหัวฉุน (魏華存) หรือ เหว่ยเสียนอาน (魏贤安) เกิดในสมัยราชวงศ์จิ้น ในปีค.ศ.251 (晉朝公元二五一年) ณ หมู่บ้านเหริ้นเฉิง เมืองจี้หนิง มณฑลซานตง (中國山东省济宁市任城) บิดารับราชการมีชื่อว่า เหว่ยซู (魏舒)

เหว่ ยหัวฉุน สามารถศึกษาคัมภีร์เต๋าต่างๆในยุคนั้นได้ตั้งแต่อายุยังน้อย โดยเฉพาะคัมภีร์เต้าเต๋อจิงของเล่าจื้อ และคัมภีรืเต๋าของจวงจื้อ เมื่อนางมีอายุเพียงสิบสองปีก็สามารถท่องคัมภีร์เต๋าต่างๆโดยไม่ต้องเปิด หนังสือดู และสามารถเข้าฌาณสมาธิเต๋าได้ ด้วยความแตกฉานในคัมภีร์เต๋า นางสามารถใช้ความสามารถพิเศษนี้ในการสอนแนวคิดเต๋าและยังใช้เวทมนต์วิเศษใน การรักษาผู้คนอีกด้วย

ขณะที่นางมีอายุได้ยี่สิบปี นางเริ่มเข้าป่าเพื่อเก็บสมุนไพรมาทำยารักษาชาวบ้าน โดยสมุนไพรหรือตัวยาใหม่ๆที่คิดค้นขึ้นนั้น นางจะลองชิมยาต่างๆด้วยตัวเองก่อนเสมอเพื่อให้มั่นใจว่าตัวยานั้นปลอดภัย สำหรับผู้ป่วย จากการที่นางได้รับยาสมุนไพรต่างๆมากเกินไป ทำให้ร่างกายของนางเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นเช่น นางไม่ต้องการกินอาหารเหมือนคนธรรมดาทั่วไป เมื่อนางมีอายุยี่สิบสี่ปี บิดาได้ให้นางแต่งงานบัณฑิษนามว่า หลิวเหวิน (刘文) เพื่อไม่ต้องการให้นางหมกมุ่นกับการปฏิบัติเต๋าและบิดานางยังเข้าใจว่า ถ้านางแต่งงานแล้ว นางคงจะไม่มุ่งมั่นในการเป็นเซียน



วันจันทร์ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

ส่ำซานก็อกอ๋อง - 三山國王

ส่ำซานก็อกอ๋อง - 護宋三侯三山國王





ส่ำซานก็อกอ๋อง (三山國王) หรือเจ้าแห่งภูเขากิ้นซาน, ภูเขาเบ๋งซาน และภูเขาตกซาน (巾山, 明山, 獨山) ซึ่งเป็นสามภูเขาที่ยิ่งใหญ่และมีชื่อเสียงของมณฑลกวางตุ้ง (廣東省中三座名山)

จากบันทึกกล่าวว่าท่านทั้งสามเกิดในสมัยราชวงศ์เหนือ-ใต้ (南北朝) ซึ่งอยู่ในช่วงระหว่างปี ค.ศ.420-450 ในวันที่สิบห้าเดือนสอง (生于農曆二月十五日) ณ บ้านแต้เอี้ยง เมืองแต้จิ่ว มณทลกวางตุ้ง (家鄉於廣東省潮州揭陽)

ทั้งสามท่านมีชื่อเรียกดังนี้ พี่คนโตไต่อ๋องชื่อเหลี่ยนเกียด ฉายาเฉ่งฮั้ว (大王: 連傑字清華) คนที่สองหยี่อ๋องชื่อติวเหียน ฉายาจ่อจิ้ง (二王: 趙軒字助政) คนที่สามส่ำอ๋องชื่อเกี๋ยวจุ้น ฉายาฮุ่ยอุ้ย (三王: 喬俊字惠威)

วันเสาร์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2552

ฮกซานเก้ง – 福山宫

ฮกซานเก้ง – 福山宫



ภาพบริเวณศาลเจ้า



ฮกซานเก้ง เป็นศาลเจ้าฮกเต็กเจี้ยสิน (福德正神) ที่เก่าแก่แห่งหนึ่งในจังหวัดภูเก็ต ปัจจุบันตั้งอยู่ที่ บริเวณถนนวิชิตสงคราม อำเภอกะทู้ เดิมนั้นมีชื่อว่า ศาลเจ้าฮกซานซู่ (福山祠) บริเวณที่ตั้งของศาลเจ้าฮกซานเก้งนั้น เป็นชุมชนทำเหมืองแร่ดีบุกโบราณที่เรียกว่า ชุมชนหลิมซาน (林山) ซึ่งเดิมจุดที่ตั้งศาลเจ้าอยู่นี้ เป็นจุดที่เป็นเส้นทางผ่านในการเดินทางระหว่างชุมชนกะทู้ และ ตัวเมืองภูเก็ต หรือเรียกว่า ทุ่งคา ในสมัยก่อน

วันพุธที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2552

คายบั้นเส้งอ๋อง - 開閩聖王



คายบั้นเส้งอ๋อง (開閩聖王)
มีชื่อเดิมว่า อ๋องสิ้มจ่าย (王審知) หรืออ๋องซินท้ง(王信通) หรืออ๋องช่งหย่ง (王祥鄉) ซึ่งต่อมาได้รับการสถาปนาเป็น บั้นไท่จ้อ (閩太祖) ปฐมกษัตริย์แห่งอาณาจักรบั้น หรือ บั้นก็อก(閩國) ซึ่งตั้งอยู่บริเวณทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศจีน (เมืองฮกจิว 福州ในปัจจุบัน) ในยุคห้าราชวงศ์สิบอาณาจักร ในประวัติศาสตร์ชาติจีน

อ๋องสิ้มจ่าย เกิดในปี ค.ศ.862 เป็นชาวบ้านก่อซี่ เมืองกึ้งจิว (光州固始人 – ปัจจุบันอยู่ในมณฑลเหอหนาน 今河南省固始县分水亭乡王堂村) บิดาชื่ออ๋องสู่ (王緒) มีพี่ชายอีกสองท่านชื่ออ๋องสิ้มเตี่ยว (王審潮) และ อ๋องสิ้มกุย (王審邽) ในปี ค.ศ.885 ทั้งสามพี่น้องได้นำทัพทหารจำนวนมากลงมาทางใต้ที่มณฑลฮกเกี้ยน เมืองจิ่นกัง (福建省晉江市) และในปี ค.ศ. 909 ทั้งสามพี่น้องก็ประกาศให้บริเวณมณฑลฮกเกี้ยน เป็นประเทศราช โดยให้ชื่อว่า บั้นก็อก (閩國) หลังจากการล่มสลายของราชวงศ์ถัง หรือตึ่ง (唐)

เนื่องจากอ๋องสิ้มเตี่ยว และอ๋องสิ้มกุย พี่ชายของท่านทั้งสองมีอายุมากแล้ว จึงได้ยกให้ท่านอ๋องสิ้มจ่าย เป็นกษัตริย์ หรือ บั้นอ๋อง (閩王) ครองอาณาจักรบั้น โดยใช้ชื่อ คายบั้นอ๋อง (開閩王) หรือ จงอี่อ๋อง (忠懿王) และฮูหยินของท่าน อึ่งหุ่ยโกว (黃惠姑) ก็ได้รับการสถาปนาเป็นบั้นก็อกฮองเฮา (閩國皇后) อย่างไรก็ตามต่อมาภายหลังพี่ชายของท่านทั้งสองก็ได้รับการสถาปนา โดยอ๋องสิ้มเตี่ยว ได้เป็นที่ ตึ่งก่องบู้อ๋อง (唐廣武王) และ อ๋องสิ้มกุย เป็นบู้ซกอ๋อง (武肅王)

บั้นก็อกในยุคนั้นค่อนข้างเป็นประเทศที่ยากจน ท่านจงอี่อ๋องจึงพยายามที่จะชักจูงผู้ที่มีความรู้ความสามารถ เข้ามารับราชการ และวางนโยบายในการกระตุ้นการพัฒนาพื้นที่ที่มีความยากลำบากในบริเวณชายฝั่งทะเล ท่านได้สร้างระบบข้าราชการที่มีประสิทธิภาพ ระบบภาษี และระบบการค้าขายที่ตรงไปตรงมา รวมไปถึง การพยายามให้การสนับสนุนการค้าขายทางทะเลอีกด้วย

ท่านจงอี่อ๋อง อ๋องสิ้มจ่าย สิ้นประชมน์ในปี ค.ศ. 925 รวมสิริอายุได้ 63 ปี จากนั้นลูกชายของท่านที่ชื่ออ๋องเอี่ยนฮาน (王延翰) ได้รับสืบทอดบังลังค์ต่อ และได้สถาปนา ท่านจงอี่อ๋อง อ๋องสิ้มจ่าย เป็นบั้นไท่จ้อ 閩太祖อย่างไรก็ตามบั้นก็อกได้ถูกทำลายโดยอาณาจักรหล่ำตึ่ง หรือหนานถัง หรือถังใต้ (南唐) ในปี ค.ศ.945

ด้วยความดี ความเสียสละอย่างเหนื่อยยากของท่าน ในการตั้งใจพัฒนาเมืองฮกเกี้ยนในสมัยนั้น ทำให้ผู้คนยกย่องบูชากราบไหว้ท่านอ๋องสิ้มจ่ายเป็นเทพเจ้า และถือว่าท่านเป็นเทพบรรพบุรุษของคนแซ่อ๋องอีกด้วย




ชาวเมืองกิมหมึง (金门) ฮกจิว (福州) นำกิมสิ้น (金身) ของท่านคายบั้นเส้งอ๋อง ออกแห่รอบเมืองเพื่อความเป็นสิริมงคล
(ภาพจาก http://www.chinataiwan.org)





ภาพป้ายสุสานของท่านจงอี่อ๋อง ณ ภูเขาเหลี่ยนฮั้ว (莲花山) เมืองฮกจิว (福州)
(ภาพจาก http://www.izy.cn)





ภาพศิลาจารึกที่พบในบริเวณสุสานของท่าน ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่ศาลเจ้า 闽王祠 เมือง 海西
(ภาพจาก http://www.fjwh.net)


อ้างอิง
Mote, F.W. (1999). Imperial China (900-1800). Harvard University Press. pp. 11, 15–16. ISBN 0-674-01212-7.
http://www.chinaknowledge.de/History/Tang/rulers-min.html
http://javewu.multiply.com
http://baike.baidu.com/view/24903.htm


หมายเหตุ
ผมพยายามใช้คำอ่านจากอักษรจีนเป็นสำเนียงฮกเกี้ยนที่ใกล้เคียงที่สุด แต่อย่างไรก็ตามอาจมีการออกเสียงผิดแผกไปตามท้องถิ่นและข้อจำกัดของอักษรไทย ดังนั้นผมจึงได้ใส่อักษรจีนกำกับไว้เพื่อใช้อ้างอิงครับ